ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อนดำ Aphis craccivora (Koch)
#1
ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อนดำ Aphis craccivora (Koch)
เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และเมธาสิทธิ์ คนการ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราโรคแมลงในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร) จำนวน 7 ไอโซเลท (M1, M4, M5, M6, M7, M8 และ M9), เชื้อราบิวเวอเรียสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท B4 และเชื้อรา Isaria javanica กับเพลี้ยอ่อนดำ; Aphis craccivora (Koch) ทำการทดสอบจำนวน 3 ครั้งในห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560 โดยปรับกำลังโคนิเดียที่ 1X10(8) โคนิเดียต่อมล. พบว่า ผลการทดสอบครั้งที่ 1 เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไอโซเลท M8 และ M9 มีประสิทธิภาพทำให้เพลี้ยอ่อนดำเป็นโรคได้ดีที่สุดที่ 95 และ 87.5% ตามลำดับ รองลงมา คือ เชื้อราบิวเวอเรีย B4 และ เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไอโซเลท M1 โดยทำให้เกิดโรคที่ 82.50 และ 81.25% ตามลำดับ ผลการทดสอบครั้งที่ 2 พบว่าเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไอโซเลท M8 และ M9 ยังคงมีประสิทธิภาพทำให้เพลี้ยอ่อนดำเป็นโรคได้ดีที่สุดที่ 95 และ 81.25% ตามลำดับ รองลงมา คือ M1 และ B4 โดยทำให้เกิดโรคที่ 81.25 และ 77.50% ตามลำดับ ผลการทดสอบครั้งที่ 3 พบว่า เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไอโซเลท M8 และ M9 ยังคงมีประสิทธิภาพทำให้เพลี้ยอ่อนดำเป็นโรคได้ดีที่สุดที่ 90 และ 80% ตามลำดับ รองลงมา คือ M1 และ B4 โดยทำให้เกิดโรคที่ 88.75 และ 68.75% ตามลำดับ ผลการทดสอบทั้ง 3 ครั้งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงเลือกไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดโรคสูงสุดในห้องปฏิบัติการ คือ M8, M9, M1 และ B4 เพื่อใช้ทำการศึกษาต่อในสภาพแปลงปลูกถั่วฝักยาวที่มีการระบาดของเพลี้ยอ่อนดำ โดยเลือกพื้นที่ทดสอบในแปลงผักอินทรีย์ เขตอ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ทำการทดสอบทั้งหมดจำนวน 6 ครั้ง พบว่าผลการทดสอบเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เชื้อเมตาไรเซียมสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท M8 ทำให้เพลี้ยอ่อนดำติดเชื้อในแปลงปลูกถั่วฝักยาวได้สูงที่สุดทั้ง 6 ครั้ง รองลงมา คือ เชื้อราบิวเวอเรีย สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท B4 และเชื้อเมตาไรเซียมสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท M1 และเมื่อนำผลการทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราโรคแมลงทั้ง 4 ไอโซเลท ในเวลาที่ต่างกัน 6 ครั้ง มาหาค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของเพลี้ยอ่อนดำ; Aphis craccivora พบว่า เชื้อเมตาไรเซียมไอโซเลท M8 ทำให้เพลี้ยอ่อนติดเชื้อได้ดีที่สุดที่ 86.771% รองลงมา คือ B4 ทำให้เพลี้ยอ่อนติดเชื้อ 70.354% ส่วนไอโซเลท M1 และ M9 ทำให้เพลี้ยอ่อนดำติดเชื้อ 67.188 และ 57.604% ตามลำดับ ดังนั้นจากการศึกษาประสิทธิภาพเชื้อราโรคแมลงในการควบคุมเพลี้ยอ่อนดำ; Aphis craccivora ในครั้งนี้พบว่าเชื้อเมตาไรเซียมสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท M8 และเชื้อราบิวเวอเรีย สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ไอโซเลท B4 มีความน่าสนใจในการถ่ายทอดให้เกษตรกรไปปรับใช้ในสภาพไร่ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   114_2560.pdf (ขนาด: 334.1 KB / ดาวน์โหลด: 474)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อนดำ Aphis craccivora (Koch) - โดย doa - 12-17-2018, 02:08 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม