03-10-2017, 10:05 AM
การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2)
อำนวย อรรถลังรอง, สุภาวดี สมภาค, ดรุณี สมณะ และทิพย์ดรุณี สิทธินาม
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี
อำนวย อรรถลังรอง, สุภาวดี สมภาค, ดรุณี สมณะ และทิพย์ดรุณี สิทธินาม
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี
การปลูกเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อส้ม 10 พันธุ์ ดำเนินการ 3 สถานที่ ได้แก่ พิจิตร กาญจนบุรี และศรีสะเกษ ระหว่างปี 2556 - 2557 จำนวน 3 ฤดูปลูก วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า CNO 0103 เป็นมันเทศเนื้อส้มเพียงพันธุ์เดียวที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อ Geminivirus และ CMV และสามารถให้ผลผลิตได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ พิจิตร 101 ในเกือบทุกฤดูและสถานที่ปลูก โดยมีผลผลิตรวมเมื่อปลูกที่พิจิตร (ให้ผลผลิตได้เพียง 2 ฤดู) กาญจนบุรี และศรีสะเกษระหว่าง 1,925.43 - 2,031.65 1,890.12 - 4,537.3 และ 229.55 - 754.47 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ มีผลผลิตตลาดระหว่าง 986.72 - 1,490.86 1,344.40 - 2,237.53 และ 172.78 - 522.37 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ มันเทศเนื้อส้มที่ปลูกทดสอบส่วนใหญ่ติดเชื้อ CMV หรือให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ยังแสดงอาการคล้ายติดไวรัสในบางฤดูกาลและ/หรือสถานที่ ซึ่งอาจติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน จึงไม่ควรขยายพันธุ์และเผยแพร่มันเทศเนื้อส้มที่ปลูกทดสอบไปสู่เกษตรกร แนวโน้มปัญหาไวรัสในมันเทศยังส่งผลต่อการปลูกมันเทศของไทยในอนาคต จึงต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อไวรัสและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไปกับท่อนพันธุ์/การขยายพันธุ์