การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2) (/showthread.php?tid=2315) |
การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2) - doa - 03-10-2017 การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2) อำนวย อรรถลังรอง, สุภาวดี สมภาค, ดรุณี สมณะ และทิพย์ดรุณี สิทธินาม สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี การปลูกเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อส้ม 10 พันธุ์ ดำเนินการ 3 สถานที่ ได้แก่ พิจิตร กาญจนบุรี และศรีสะเกษ ระหว่างปี 2556 - 2557 จำนวน 3 ฤดูปลูก วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า CNO 0103 เป็นมันเทศเนื้อส้มเพียงพันธุ์เดียวที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อ Geminivirus และ CMV และสามารถให้ผลผลิตได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ พิจิตร 101 ในเกือบทุกฤดูและสถานที่ปลูก โดยมีผลผลิตรวมเมื่อปลูกที่พิจิตร (ให้ผลผลิตได้เพียง 2 ฤดู) กาญจนบุรี และศรีสะเกษระหว่าง 1,925.43 - 2,031.65 1,890.12 - 4,537.3 และ 229.55 - 754.47 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ มีผลผลิตตลาดระหว่าง 986.72 - 1,490.86 1,344.40 - 2,237.53 และ 172.78 - 522.37 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ มันเทศเนื้อส้มที่ปลูกทดสอบส่วนใหญ่ติดเชื้อ CMV หรือให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ยังแสดงอาการคล้ายติดไวรัสในบางฤดูกาลและ/หรือสถานที่ ซึ่งอาจติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน จึงไม่ควรขยายพันธุ์และเผยแพร่มันเทศเนื้อส้มที่ปลูกทดสอบไปสู่เกษตรกร แนวโน้มปัญหาไวรัสในมันเทศยังส่งผลต่อการปลูกมันเทศของไทยในอนาคต จึงต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อไวรัสและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไปกับท่อนพันธุ์/การขยายพันธุ์
|