เทคโนโลยีการผลิตกล้วยเพื่อการบริโภคสด เพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์และการนำสารสำคัญ
#1
โครงการวิจัยคัดเลือกพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเพื่อการบริโภคสด เพิ่มมูลค่าเป็น ผลิตภัณฑ์และการนำสารสำคัญจากกล้วยไปใช้ประโยชน์
เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, รักชัย คุรุบรรเจิดจิต, พรรณผกา รัตนโกศล, จารินี จันทร์คำ และสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และสถาบันวิจัยพืชสวน

          ลูกคัดเลือกกล้วยน้ำว้าจากแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วย จำนวน 7 สายต้น/พันธุ์ คือ กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 กล้วยน้ำว้าอุบลราชธานี กล้วยน้ำว้าสายต้นสุโขทัย43-1 กล้วยน้ำว้าสายต้นสุโขทัย43-2 กล้วยน้ำว้าสายต้นสุโขทัย55-3 กล้วยน้ำว้าสายต้นสุโขทัย55-4 และกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ระหว่างปี 2555 - 2556 พบ กล้วยน้ำว้าสายต้นสุโขทัย55-4 มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่นๆ (น้ำหนักเครือ 24.7 กิโลกรัม จำนวนหวี 11 หวีต่อเครือ น้ำหนักหวี 1.96 กิโลกรัม และจำนวนผลต่อหวี 17 ผล)

          บันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์เบื้องต้นตามแบบ Descriptor for Musa จำนวน 80 ลักษณะของกล้วยในแปลงรวบรวมพันธุกรรม ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ได้จำนวน 39 สายพันธุ์ และเก็บข้อมูลได้บางส่วนอีกจำนวน 103 สายพันธุ์


ไฟล์แนบ
.pdf   134_2558.pdf (ขนาด: 4.07 MB / ดาวน์โหลด: 12,877)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
เทคโนโลยีการผลิตกล้วยเพื่อการบริโภคสด เพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์และการนำสารสำคัญ - โดย doa - 11-25-2016, 03:45 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม