11-24-2016, 04:07 PM
การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก
พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, ชลธิชา เตโช, ไกรศร ตาวงศ์, วิสุทธิดา ศรีดวงโชติ, เตือนใจ พุดชัง, สมพร วนะสิทธิ และจรัญดิษฐ ไชยวงศ์
กองแผนงานและวิชาการ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, ชลธิชา เตโช, ไกรศร ตาวงศ์, วิสุทธิดา ศรีดวงโชติ, เตือนใจ พุดชัง, สมพร วนะสิทธิ และจรัญดิษฐ ไชยวงศ์
กองแผนงานและวิชาการ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
ศึกษาขนาดมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก ได้แก่ มะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเทคนิคทางสถิติในการปฏิบัติงานวิจัยของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ในปี พ.ศ. 2557 และทำการทดลองซ้ำ เพื่อยืนยันปี พ.ศ. 2558 โดยปลูกพืชแต่ละชนิดจำนวน 4 แปลงย่อย ที่มีลักษณะยกร่อง ขนาดแปลงของพืชทดลองแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามลักษณะการเพาะปลูก และการดูแลรักษา โดยมะเขือเทศ (พันธุ์ศรีสะเกษ1) มีขนาดแปลงกว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 1 เมตร คะน้า (พันธุ์การค้า) ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ขณะที่ถั่วฝักยาว (พันธุ์พิจิตร3) มีขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ในปี พ.ศ. 2558 ได้เพิ่มขนาดความยาวแปลงปลูกคะน้าเป็น 19 เมตร เนื่องจากมีความแปรปรวนของแปลงทดลองมากในปีแรก ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกแปลงเว้นหัว-ท้ายแปลงออกด้านละ 2 หน่วยย่อย (basic unit) หน่วยย่อยของมะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาวมีขนาด 4 x 0.51 x 0.25 และ 1.5 x 0.5 เมตร ตามลำดับ ดังนั้นทุกแปลงทดลองจะมี 36 หน่วยย่อย ยกเว้นแปลงปลูกคะน้าในปี 2558 จะมีทั้งหมด 72 หน่วยย่อย นำข้อมูลน้ำหนักผลผลิตทั้ง 4 แปลง ของแต่ละพืชมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน ศึกษาสมการความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เก็บเกี่ยว (X) กับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน )Yˆ (ในรูปสมการและทดสอบความเท่ากันของค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น ผลการทดลองพบว่า ขนาดแปลงทดลองที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นมาตรฐานแปลงทดลองมะเขือเทศที่มีระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 12 ตารางเมตร มาตรฐานแปลงทดลองคะน้าที่มีระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตร และมาตรฐานแปลงทดลองสำหรับถั่วฝักยาว ที่มีระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร ทั้งนี้ไม่รวมอิทธิพลแถวริม (border row)