การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28) +--- เรื่อง: การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก (/showthread.php?tid=2031) |
การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก - doa - 11-24-2016 การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, ชลธิชา เตโช, ไกรศร ตาวงศ์, วิสุทธิดา ศรีดวงโชติ, เตือนใจ พุดชัง, สมพร วนะสิทธิ และจรัญดิษฐ ไชยวงศ์ กองแผนงานและวิชาการ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศึกษาขนาดมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก ได้แก่ มะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเทคนิคทางสถิติในการปฏิบัติงานวิจัยของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ในปี พ.ศ. 2557 และทำการทดลองซ้ำ เพื่อยืนยันปี พ.ศ. 2558 โดยปลูกพืชแต่ละชนิดจำนวน 4 แปลงย่อย ที่มีลักษณะยกร่อง ขนาดแปลงของพืชทดลองแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามลักษณะการเพาะปลูก และการดูแลรักษา โดยมะเขือเทศ (พันธุ์ศรีสะเกษ1) มีขนาดแปลงกว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 1 เมตร คะน้า (พันธุ์การค้า) ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ขณะที่ถั่วฝักยาว (พันธุ์พิจิตร3) มีขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ในปี พ.ศ. 2558 ได้เพิ่มขนาดความยาวแปลงปลูกคะน้าเป็น 19 เมตร เนื่องจากมีความแปรปรวนของแปลงทดลองมากในปีแรก ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกแปลงเว้นหัว-ท้ายแปลงออกด้านละ 2 หน่วยย่อย (basic unit) หน่วยย่อยของมะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาวมีขนาด 4 x 0.51 x 0.25 และ 1.5 x 0.5 เมตร ตามลำดับ ดังนั้นทุกแปลงทดลองจะมี 36 หน่วยย่อย ยกเว้นแปลงปลูกคะน้าในปี 2558 จะมีทั้งหมด 72 หน่วยย่อย นำข้อมูลน้ำหนักผลผลิตทั้ง 4 แปลง ของแต่ละพืชมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน ศึกษาสมการความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เก็บเกี่ยว (X) กับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน )Yˆ (ในรูปสมการและทดสอบความเท่ากันของค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น ผลการทดลองพบว่า ขนาดแปลงทดลองที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นมาตรฐานแปลงทดลองมะเขือเทศที่มีระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 12 ตารางเมตร มาตรฐานแปลงทดลองคะน้าที่มีระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตร และมาตรฐานแปลงทดลองสำหรับถั่วฝักยาว ที่มีระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร ทั้งนี้ไม่รวมอิทธิพลแถวริม (border row)
|