การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วีระพล พลรักดี, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์, สุชาติ ค้าอ่อน, สุรีรัตน์ แสงนิล, รัชนี โสภา, บุญอุ้ม แคล้วโยธา, บุญญภา ศรีหาตา, อัมพร ทองปลิว, วสันต์ วรรณจักร, เบญจมาศ ค้าสืบ, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, นฤทัย วรสถิตย์, ลักขณา ร่มเญ็น, กาญจนา กิรศักดิ์, อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข, รัชนีวรรณ ชูเชิด, อนงค์นาฏ พรหมทะสาร, มัทนา วานิชย์, ดารารัตน์ มณีจันทร์, นิลุบล ทวีกุล, สุพัตรา ดลโสภณ, อิสระ พุทธสิมา, ภาคภูมิ ถิ่นค้า, ปรีชา กาเพ็ชร และกษิดิศ ดิษฐบรรจง

          การปรับปรุงพันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 กิจกรรม คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อย การวิจัยระบบที่เหมาะสมในการกระจายอ้อยพันธุ์ดีสู่พื้นที่ และการวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมอ้อยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ดำเนินงานตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ การประเมินผลผลิต และศึกษาลักษณะทางการเกษตรของอ้อยโคลนดีเด่น 95-2-213 ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลสูง สามารถแนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูก 99-2-097 มีค่าซีซีเอสสูง ใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมในการให้ความหวาน KK04-053 KK04-066 และ KK04-080 ทนแล้งและไว้ตอได้ดี KK06-381 KK06-537 KK07-037 KK07-050 KK07-250 และ KK07-370 ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลสูง กำลังประเมินผลผลิตอยู่ในขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร นอกจากนี้ยังมีโคลนอ้อยดีเด่น 64 โคลน อยู่ในขั้นการเปรียบเที่ยบเบื้องต้นและมาตรฐาน การวิจัยระบบที่เหมาะสมในการกระจายอ้อยพันธุ์ดีสู่พื้นที่ ระยะแถว 1 และ 1.5 เมตร ได้ผลผลิตข้อตาไม่ต่างกัน ระยะหลุม 0.25 เมตรได้ผลผลิตข้อตาสูงกว่า 0.5 และ 0.75 เมตร แต่ระยะหลุมห่างมีอัตราการขยายพันธุ์สูงกว่า อายุเหมาะสมของต้นกลำสำหรับย้ายปลูกลงแปลงอยู่ที่ 8 สัปดาห์ การปลูกด้วยต้นกลำจากการช้าข้อตาที่ระยะ 1.3 x 0.5 เมตร มีจำนวนลำเก็บเกี่ยว ต่ำกว่าการปลูกแบบวางท่อน 3 ตา ที่ระยะแถวเดียวกัน เมื่อปลูกในเดือน ธันวาคม และมีนาคม และมีจำนวนลำใกล้เคียงกันเมื่อปลูกในเดือนพฤษภาคม การติดตามการเกิดโรคใบขาวจากแปลงขยายพันธุ์อ้อยสะอาดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 7 รุ่น พบการเกิดโรคน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ อ้อยปลูกจากกลำอ้อยปลอดโรคใบขาวในสภาพที่มีการดูแลรักษาดี มีการให้น้ำ ไม่พบต้นแสดงอาการใบขาวแม้อยู่ใกล้แปลงที่มีอ้อยเป็นโรคใบขาว การวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมอ้อย การศึกษาและจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยา ของเชื้อพันธุกรรมอ้อย กลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยต่อไร่สูง ได้แก่ CP81-1384 CP84-1198 F163 SP70-1284 Q68 M134/32 M147/44 SP71-355 US66-151 และ CP81-1254-2 กลุ่มที่ให้ผลผลิตน้ำตาลต่อไร่สูง Co858 Co731 Co659 BO310 US66-151 US16-15-1 US66-31 Q76 Q61 และ Q113 กลุ่มพันธุ์ที่มีค่าซีซีเอสสูง ได้แก่ Q142 CP81-1254-2 LF79-594 Q120 Q146 Q79-1 CP85-1308 Asawa CP81-3388 และ Q115การนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มาพัฒนาใช้ในการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อย การเก็บรักษาระยะกลาง ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม mannitol หรือ sorbitol ในอัตรา 5 - 10 กรัมต่อลิตร การเก็บรักษาระยะยาว PVS3 (glycerol 50 % + sucrose 50 %) PVS3 variant1 (glycerol 50 % + sucrose 40 %), PVS3 variant2 (glycerol 45 % + sucrose 45 %) แคลลัสมีความสามารถในการอยู่รอด 32 - 98 % และ แคลลัสที่อยู่รอดหลังแช่ไนโตรเจนเหลวมีความสามารถในการพัฒนาเป็นต้นอ่อนร้อยละ 9 - 42


ไฟล์แนบ
.pdf   32_2558.pdf (ขนาด: 1.18 MB / ดาวน์โหลด: 2,794)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - โดย doa - 11-15-2016, 10:11 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม