06-28-2016, 03:41 PM
การใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมักในการปรับปรุงดินก่อนปลูกพริกในระบบอินทรีย์
พรพรรณ สุทธิแย้ม, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, นาตยา จันทร์ส่อง และสิรี สุวรรณเขตนิคม
พรพรรณ สุทธิแย้ม, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, นาตยา จันทร์ส่อง และสิรี สุวรรณเขตนิคม
เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ในการปรับปรุงดินก่อนปลูกพริกในระบบอินทรีย์ จึงทำการทดลองขึ้นโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) โสนอัฟริกัน(ศวร.เชียงใหม่) หรือถั่วพุ่ม (ศวร.อบุลราชธาน)ี อัตราเมล็ด 5 กก./ไร่ 2) ถั่วพร้าอัตราเมล็ด 10 กก./ไร่ 3) ปุ๋ยหมักเชื้อกรมวิชาการเกษตร (กวก.) 4) ปุ๋ยหมักจากเชื้อพด.1 5) ปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง และ 6) ไม่ปรับปรุงดิน ใช้พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ศรีสะเกษ 13 หรือพันธุ์หัวเรือ ไถกลบปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมักก่อนปลูกประมาณ 15 วัน พ่นน้ำหมักผลไม้ (อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 200) ควบคู่กับน้ำหมักสมุนไพร (อัตราส่วนต่อน้ำเท่ากัน) ทุก 7 วัน เริ่มตั้งแต่ 10 วันหลังย้ายปลูกทุกกรรมวิธี บันทึกข้อมูลผลผลิตและคุณภาพ คุณสมบัติทางเคมีของดิน และต้นทุนการผลิต ดำเนินการที่ ศวร.เชียงใหม่ และศวร.อุบลราชธานี ระหว่างปี 2549 - 2551 ผลการทดลองสรุปได้ว่าการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดในการปลูกพริกอินทรีย์ ใช้ได้ทั้งถั่วพุ่ม (5 กก./ไร่) และถั่วพร้า (10 กก./ไร่) และปุ๋ยหมักซึ่งจะใช้เชื้อหมักของกรมวิชาการเกษตร หรือพด.1 หรือใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) หมักกับเศษพืชเป็นเวลา 24 ชม. ในอัตรา 3 ตัน/ไร่ ไถกลบก่อนปลูกพริกอย่างน้อย 15 วันพ่นน้ำหมักผลไม้ควบคู่กับน้ำหมักสมุนไพร อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 200 ทุก 7 วัน เริ่มตั้งแต่หลังย้ายปลูก 10 วันให้ผลดีใกล้เคียงกัน โดยผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 311 - 641 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลฯและเมื่อเพิ่มการใช้เชื้อราไมโคไรซ่า หลังย้ายปลูกประมาณ 2 เดือนจะช่วยเพิ่มผลผลิตพริกอีกมาก เช่นที่ ศวร.เชียงใหม่ ผลผลิตพริกสดอยู่ในระหว่าง 282 - 585 กก./ไร่ ทั้งปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดมีผลในการปรับปรุงดินช่วยให้ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ในระดับเป็นกลาง % อินทรียวัตถุในดินสูงขึ้นแม้จะยังไม่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะปุ๋ยพืชสดซึ่งต้องใช้เวลานาน ช่วยให้มีการดูดใช้ธาตุ P และเพิ่มค่า Extr. K รวมทั้งปรับปรุงระดับของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมในดินให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับที่เหมาะสมกับพืช โรคสำคัญของพริก คือ โรคแอนแทรคโนสไม่พบมากนัก แมลงศัตรูที่สำคัญที่เป็นปัญหามีเพลี้ยอ่อนในฤดูแล้ง และแมลงวันผลไม้ทำลายผลพริก และยังพบศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า มวนบางชนิด เป็นต้น