วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัด แมลงวันผลไม้ในมะม่วง
#1
วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัด แมลงวันผลไม้ในมะม่วงพันธุ์มหาชนก โชคอนันต์ และเขียวเสวยเพื่อการส่งออก
รัชฎา อินทรกำแหง, สลักจิต พานคำ, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง, จารุวรรณ จันทรา และอุดร อุณหวุฒิ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ศึกษาเบื้องต้นเปรียบเทียบความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis ระยะหนอนวัยที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุดในผลมะม่วงพันธ์เขียวเสวย มหาชนก และโชคอนันต์ เปรียบเทียบกับพันธุ์หนังกลางวัน ด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ (Modified Vapor Heat Treatment, MVHT ผลการศึกษาแสดงว่า หนอนวัย 1 ในมะม่วงโชคอนันต์มีความทนทานต่อความร้อนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพันธ์เขียวเสวย และมหาชนก จากผลจากการทดลองได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT เพื่อกำจัดหนอนวัยแมลงวันผลไม้วัย 1 ในมะม่วงโชคอนันต์โดยทำการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 45, 46, 47, 47 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที, 15 นาที และ 20 นาที พบว่า ที่อุณหภูมิ 47.0 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที สามารถกำจัดแมลงวันผลไม้วัย 1 ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำการศึกษาต่อโดยประเมินประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ในการกำจัดแมลงวันผลไม้จำนวนมาก (2,000 ตัว) (Intermediate disinfestations test) ในมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ โดยการอบไอน้ำ MVHT ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส นาน 15, 20 และ 25 นาที ผลการทดลองพบว่า ทุกวิธีการมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันผลไม้วัย 1 ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ศึกษายืนยันประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ที่อุณหภูมิ 47.0 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที เพื่อกำจัดหนอนวัยแมลงวันผลไม้วัย 1 จำนวนมาก ในมะม่วงโชคอนันต์ (Large scale confirmatory test) เพื่อใช้เป็นวิธีการทางด้านกักกันพืชสามารถประมาณการจำนวนหนอนแมลงวันผลไม้ที่ถูกกำจัดได้ 39,471 ตัว การศึกษาด้านผลกระทบของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ต่อคุณภาพมะม่วงพบว่ากระบวนการอบไอน้ำที่เสนอเป็นวิธีการทางด้านกักันพืชไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพในการบริโภคของมะม่วงทั้ง 3 ชนิด


ไฟล์แนบ
.pdf   1650_2553.pdf (ขนาด: 121.31 KB / ดาวน์โหลด: 862)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม