09-11-2018, 01:55 PM
เทคนิคการตรวจกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์
ภรณี สว่างศรี, รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล, อรรัตน์ วงศ์ศรี, สุวิมล กลศึก, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ดนัย นาคประเสริฐ และหทัยรัตน์ อุไรรงค์
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
ภรณี สว่างศรี, รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล, อรรัตน์ วงศ์ศรี, สุวิมล กลศึก, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ดนัย นาคประเสริฐ และหทัยรัตน์ อุไรรงค์
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
การผลิตกล้าปาล์มน้ำมันชนิดลูกผสมเทเนอราในปริมาณมาก อาจมีการปนของปาล์มน้ำมันชนิดดูรา ทำให้คุณภาพของกล้าปาล์มน้ำมันลดลง เพื่อควบคุมคุณภาพกล้าปาล์มน้ำมันให้ตรงตามพันธุ์จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองต้นดูราที่ปนมาในแปลงเพาะกล้า งานวิจัยนี้จึงได้นำเทคนิค Real time PCR มาพัฒนาเพื่อให้ตรวจสอบคุณภาพกล้าปาล์มน้ำมันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และเชื่อถือได้ ดำเนินการวิจัยที่สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 โดยการตรวจวิเคราะห์แบบรวมตัวอย่าง (Bulk Sample) ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ (SNPTAYA A/T) ทำการทดลองในปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 กลุ่มพันธุ์ Tanzania โดยจัดกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มๆ ละ 10,000 ต้น สุ่มเก็บตัวอย่างกล้าปาล์มน้ำมัน 5 เปอร์เซ็นต์ (500 ต้น) นำมารวมตัวอย่างเพื่อสกัดดีเอ็นเอรวม 10 ต้น/ตัวอย่าง รวม 50 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลจากคำ Fluorescent intensity (ΔRn) ของแต่ละ allele (A, T) โดยใช้คำ ΔRn allele T/A ratio ของตัวอย่าง ดีเอ็นเอทั้ง 50 ตัวอย่าง เปรียบเทียบกับคำมาตรฐานการปนของต้นดูราในลูกผสมเทเนอรา 0 - 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อวิเคราะห์คำขีดจำกัดของการตรวจคัดกรอง ผลการตรวจคัดกรองแบบรวมตัวอย่างในครั้งนี้ พบการปนของต้นดูรา 24 ตัวอย่าง และสามารถปลํอยผำนได้ 26 ตัวอย่าง และเมื่อนำทั้ง 26 ตัวอย่างมาตรวจแบบต้นต่อต้น พบว่ามีต้นดูราปน 3 ต้น คิดเป็นค่าความผิดพลาดในการปล่อยผ่าน 0.6 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 500 ต้น แสดงว่าวิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่างเป็นวิธีการที่ใช้ได้และให้ความแม่นยำสูง นอกจากนี้ในกรณีไม่ทราบประวัติพันธุ์ของปาล์มน้ำมัน ได้พัฒนาเทคนิค MassARRAY ในการตรวจวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์พร้อมกัน 4 ตำแหน่ง ในปาล์มน้ำมันชนิดลูกผสมเทเนอราในกลุ่มพันธุ์ต่างๆ ทำให้สามารถระบุกลุ่มพันธุ์และจำแนกลูกผสมเทเนอราได้ในคราวเดียวกัน