เทคนิคการตรวจกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: เทคนิคการตรวจกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ (/showthread.php?tid=2394) |
เทคนิคการตรวจกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ - doa - 09-11-2018 เทคนิคการตรวจกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ ภรณี สว่างศรี, รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล, อรรัตน์ วงศ์ศรี, สุวิมล กลศึก, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ดนัย นาคประเสริฐ และหทัยรัตน์ อุไรรงค์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี การผลิตกล้าปาล์มน้ำมันชนิดลูกผสมเทเนอราในปริมาณมาก อาจมีการปนของปาล์มน้ำมันชนิดดูรา ทำให้คุณภาพของกล้าปาล์มน้ำมันลดลง เพื่อควบคุมคุณภาพกล้าปาล์มน้ำมันให้ตรงตามพันธุ์จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองต้นดูราที่ปนมาในแปลงเพาะกล้า งานวิจัยนี้จึงได้นำเทคนิค Real time PCR มาพัฒนาเพื่อให้ตรวจสอบคุณภาพกล้าปาล์มน้ำมันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และเชื่อถือได้ ดำเนินการวิจัยที่สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 โดยการตรวจวิเคราะห์แบบรวมตัวอย่าง (Bulk Sample) ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ (SNPTAYA A/T) ทำการทดลองในปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 กลุ่มพันธุ์ Tanzania โดยจัดกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มๆ ละ 10,000 ต้น สุ่มเก็บตัวอย่างกล้าปาล์มน้ำมัน 5 เปอร์เซ็นต์ (500 ต้น) นำมารวมตัวอย่างเพื่อสกัดดีเอ็นเอรวม 10 ต้น/ตัวอย่าง รวม 50 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลจากคำ Fluorescent intensity (ΔRn) ของแต่ละ allele (A, T) โดยใช้คำ ΔRn allele T/A ratio ของตัวอย่าง ดีเอ็นเอทั้ง 50 ตัวอย่าง เปรียบเทียบกับคำมาตรฐานการปนของต้นดูราในลูกผสมเทเนอรา 0 - 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อวิเคราะห์คำขีดจำกัดของการตรวจคัดกรอง ผลการตรวจคัดกรองแบบรวมตัวอย่างในครั้งนี้ พบการปนของต้นดูรา 24 ตัวอย่าง และสามารถปลํอยผำนได้ 26 ตัวอย่าง และเมื่อนำทั้ง 26 ตัวอย่างมาตรวจแบบต้นต่อต้น พบว่ามีต้นดูราปน 3 ต้น คิดเป็นค่าความผิดพลาดในการปล่อยผ่าน 0.6 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 500 ต้น แสดงว่าวิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่างเป็นวิธีการที่ใช้ได้และให้ความแม่นยำสูง นอกจากนี้ในกรณีไม่ทราบประวัติพันธุ์ของปาล์มน้ำมัน ได้พัฒนาเทคนิค MassARRAY ในการตรวจวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์พร้อมกัน 4 ตำแหน่ง ในปาล์มน้ำมันชนิดลูกผสมเทเนอราในกลุ่มพันธุ์ต่างๆ ทำให้สามารถระบุกลุ่มพันธุ์และจำแนกลูกผสมเทเนอราได้ในคราวเดียวกัน
|