การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการโรคเหี่ยวในสับปะรด
#1
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการโรคเหี่ยวในสับปะรด
ศุกร์ เก็บไว้, จิตต์ เหมพนม และนลินี จาริกภากร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี

          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการโรคเหี่ยวในสับปะรด ดำเนินการในแปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ในปี 2555 - 2557 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ 1) วิธีเกษตรกร  2) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที 3) จุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริด อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 4) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตเร่งราก (NAA) 5) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยน้ำหมักพบว่า กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที มีต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวต่ำสุด คือ 16.30  เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริด อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยน้ำหมัก กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตเร่งราก (NAA) และกรรมวิธีเกษตรกร มีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคเหี่ยว 20.73 29.17 31.71 และ 62.95 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รายได้สุทธิ พบว่า กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ให้รายได้สุทธิสูงสุด คือ 20,380 บาท รองลงมา ได้แก่ กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริดอัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยน้ำหมัก กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตเร่งราก (NAA) และกรรมวิธีเกษตรกร ให้รายได้สุทธิ 15,150 7,220 2,400 และ -6,790 บาท ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   138_2557.pdf (ขนาด: 227.08 KB / ดาวน์โหลด: 960)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม