01-20-2017, 01:33 PM
ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกต่อผลผลิต และปริมาณสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง
ละอองดาว แสงหล้า, โสพิศ ใจปาละ, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี และนภาพร คำนวณทิพย์
ละอองดาว แสงหล้า, โสพิศ ใจปาละ, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี และนภาพร คำนวณทิพย์
การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกสามารกระตุ้นการสร้างสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองให้เพิ่มขึ้นได้ โดยศึกษาในพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีสารดังกล่าวในระดับปลานกลาง วางแผนการทดลองแบบ Split plot design in RCB ใช้สารกำจัดวัชพืชโฟมีซาเฟนที่อัตราและระยะเวลาพ่นอัตรา ดังนี้ อัตราสารเคมีที่ใช้ คือ 10 20 และ 30 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ทำการพ่นที่ระยะ ที่ระยะดอกแรกบาน (ระยะ R1) หรือระยะที่ฝักมีขนาด 0.3 เซนติเมตร และมีใบพัฒนาเต็มที่ (ระยะ R5) เปรียบเทียบกับการไม่พ่น
ผลการทดลองปี 2556 - 2557 พบว่า การพ่นต้นถั่วเหลืองด้วยสารกำจัดวัชพืชโฟมีซาเฟนอัตรา 30 กรัม ของสารออกฤทธิ์/ไร่ ที่ระยะดอกแรกบาน ( ระยะ R1) หรือระยะที่ฝักมีขนาด 0.3 เซนติเมตรและมีใบพัฒนาเต็มที่ (ระยะ R5) จะไปมีผลกระตุ้นถั่วเหลืองให้มีการสังเคราะห์สารไอโซฟลาโวนรวมในเมล็ดเพิ่มขึ้น โดยไม่มีผลต่อผลผลิตถั่วเหลือง ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ และองค์ประกอบผลผลิตถั่วเหลือง ยกเว้นในบางฤดูที่ทำให้ขนาดเมล็ดลดลงเล็กน้อย เกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลือง มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชโฟมีซาเฟน (ที่ 25%W/V SL)ในอัตรา ที่แนะนำ คือ 120 - 160 ซีซีต่อไร่ หรือ 30 - 40 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ซึ่งการใช้ในอัตราที่ 30 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ อยู่ในระดับต่ำสุด ไม่เป็นอันตรายต่อถั่วเหลืองทั้งในแง่การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตโดยมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.30 บาทต่อกิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ยถั่วเหลืองเขตภาคเหนือ 300 กิโลกรัมต่อไร่) อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวมีผลทางอ้อมต่อสารไอโซฟลาโวน โดยไปกระตุ้นให้ถั่วเหลืองมีการสังเคราะห์สารดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากปกติ 68 - 90% เท่านั้น ดังนั้นข้อแนะนำในการใช้จึงควรใช้ในอัตราที่แนะนำเท่านั้น การใช้เกินกว่าคำแนะนำ อาจจะทำให้เกิดพิษต่อต้นถั่วเหลืองและยังไม่มีการยืนยันการใช้เกินกว่าอัตราดังกล่าว และควรมีการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การเลือกวันปลูก พันธุ์ สภาพการให้น้ำ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนร่วม ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น