มาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกสินค้าเกษตร
#1
มาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกสินค้าเกษตร
ณัฏฐพร อุทัยมงคล

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลพืชและศัตรูพืชสำหรับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรไปต่างประเทศและชนิดของศัตรูพืชที่ประเทศคู่ค้าจะพิจารณาว่ามีโอกาสเป็นศัตรูพืชกักกัน รวมถึงแนวทางการวางมาตรการจัดการศัตรูพืชได้ล่วงหน้า โดยมีการดำเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2558 กับกลุ่มพืชผักและเมล็ดพันธุ์คือ หน่อไม้ฝรั่ง และกลุ่มผลไม้คือ ผลส้มโอและผลมะพร้าวอ่อน สถานที่วิจัยดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และแปลงปลูกเพื่อส่งออกของเกษตรกรและโรงคัดบรรจุสินค้า มีขั้นตอนดำเนินงานคือ การเตรียมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลศัตรูพืชของพืชที่ประสงค์จะส่งออก การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเบื้องต้นตาม ISPM 11 เพื่อให้ได้รายชื่อศัตรูพืชที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศคู่ค้า และการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับเปิดตลาด พร้อมเสนอมาตรการสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสำหรับการกำจัดศัตรูพืชกักกันก่อนการส่งออก

          ผลการวิจัยได้ข้อมูลทั่วไปของหน่อไม้ฝรั่ง ส้มโอและมะพร้าวอ่อน ข้อมูลการนำเข้าส่งออก มาตรการทางสุขอนามัยพืชของประเทศคู่ค้า และจากการสำรวจศัตรูพืชในแปลงปลูกของพืชทั้ง 3 ชนิด พบศัตรูพืชดังนี้ 1) หน่อไม้ฝรั่ง พบเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จากเกษตรกร 7 ราย ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี 2) ส้มโอ ไม่พบศัตรูพืช จากแปลง GAP ที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3) ผลมะพร้าว พบอาการใบจุด (Curvularia sp.) อาการผลเน่า (Lasiodiplodia theobromae) อาการใบไหม้ (Pestalotiopsis sp., Alternaria sp.) อาการต้นเน่าและใบแห้งตาย (Fusarium sp.) และอาการเข้าทำลายของแมลงบนใบและต้นมะพร้าว ได้แก่ หนอนปลอก แมลงหวี่ขาว ด้วงแรด จากแปลง GAP ของเกษตรกร 4 ราย ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งผลของการสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเบื้องต้นให้ผลดังนี้ หน่อไม้ฝรั่งพบว่ามีศัตรูพืชที่มีโอกาสเป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศปลายทาง จำนวน 30 ชนิด ได้แก่ แมลง 11 ชนิด คือ Agrotis ipsilon, Bemisia tabaci, Dasychira mendosa, Helicoverpa armigera, Hypomeces squamosus, Hyposidra talaca, Orgia postica, O. turbata, Spodoptera litura, S. exigua และ Thrips tabaci แบคทีเรีย 1 ชนิด คือ Erwinia carotovora subsp. carotovora รา 7 ชนิด คือ Cercospora asparagi, Choanephora cucurbitarum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium oxysporum f.sp. asparagi, Macrophomina phaseolina, Phomopsis asparagi และ Puccinia asparagi และวัชพืช 11 ชนิด คือ Amaranthus viridis, Dactyloctenium aegyptium, Digitaria ciliaris, Echinochloa colona, Eleusine indica, Euphorbia thymifolia, Paspalum distichum, Portulaca oleracea, Portulaca pilosa, Trianthema portulacastrum และ Cyperus rotundus จึงต้องมีมาตรการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับศัตรูพืชที่มีโอกาสเป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศปลายทาง เพื่อจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชของหน่อไม้ฝรั่งส่งออก จำนวน 30 ชนิด โดยใช้วิธีการบริหารจัดการศัตรูพืชร่วมกันอย่างเป็นระบบ (System approach) ดังนี้ แมลง 11 ชนิด ใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชในแปลงปลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสม ร่วมกับกระบวนการคัดเลือกผลผลิตให้ได้มาตรฐานในโรงคัดบรรจุสินค้า โดยคัดผลผลิตที่มีแมลงติดมาหรือมีอาการของการเข้าทำลายจากแมลงทิ้ง หรือการล้าง ทำความสะอาด เพื่อกำจัดแมลงบางชนิดที่ทำลายภายนอกออก ส่วนเชื้อรา 7 ชนิด และแบคทีเรีย 1 ชนิด ควรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices) ในแปลง และมีการตรวจสอบในทุกขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวถึงขั้นตอนการบรรจุสินค้าก่อนการส่งออก หากตรวจพบศัตรูพืชควรคัดผลผลิตส่วนนั้นทิ้งและทำลาย วัชพืช 11 ชนิด ควรมีการตรวจสอบในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวถึงโรงคัดบรรจุสินค้า โดยคัดผลผลิตที่มีการปนเปื้อนของเมล็ดวัชพืชออกด้วยการเปุาหรือการล้าง ส่วนส้มโอ พบศัตรูพืชที่มีโอกาสเป็นศัตรูพืชกักกัน จำนวน 25 ชนิด ซึ่งได้พิจารณาแนวทางการดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับศัตรูพืชทั้ง 25 ชนิด ดังนี้ (1) แมลงวันผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ B. dorsalis, B. carambolae, B. papaya และ B. pyrifoliae ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของการส่งออกส้มโอจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุุนในปัจจุบันใช้มาตรการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ (อย่างไรก็ตามยังไม่พบรายงานว่าแมลงวันผลไม้เข้าทำลายส้มโอในสภาพธรรมชาติ) (2) เพลี้ยหอย 7 ชนิด ได้แก่ Aonidiella aurantii, Ceroplastes rubens, Coccus hesperidum, Coccus mangiferae, Coccus viridis, Ferrisia virgate และ Parlatoria cinerea เพลี้ยแปูง 5 ชนิด ได้แก่ Nipaecoccus viridis, Planococcus lilacinus, Pseudococcus cryptus, Rastrococcus spinosus, Rastrococcus tropicasiaticus เพลี้ยไก่แจ้ 1 ชนิด ได้แก่ Diaphorina citri และหนอนผีเสื้อ 2 ชนิด ได้แก่ หนอนเจาะผล Citripestis sagittiferella หนอนชอนใบ/ชอนผล Phyllocnistis citrella ใช้วิธีบริหารจัดการหลายวิธีร่วมกันอย่างเป็นระบบ (System approach) หรือวิธีการการฉายรังสี ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (ISPM) ฉบับที่ 18 (3) โรคแคงเกอร์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช Xanthomonas axonopodis pv. citri กำหนดให้ผลส้มโอต้องมาจากสวนที่ได้รับการตรวจรับรองว่าไม่พบอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวทุกสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคกับพืชสกุลส้ม และต้องผ่านการแช่ด้วยสาร sodium orthophenylphenate หรือสารอื่นที่เป็นที่ยอมรับ สำหรับโรคกรีนนิ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช Candidatus Liberibacter iaticus กำหนดให้ใช้สารฆ่าแมลงในการปูองกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้พาหะของเชื้อสาเหตุร่วมกับการดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวภายในโรงคัดบรรจุผลไม้ ในส่วนของผลมะพร้าวที่มีเปลือกสีเขียว พบศัตรูพืชที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศคู่ค้า จำนวน 7 ชนิด คือ แมลง 6 ชนิด และเชื้อรา 1 ชนิด ส่วนผลมะพร้าวแบบควั่น มะพร้าวหัวโต และมะพร้าวเจีย ไม่พบศัตรูพืชที่สามารถติดกับส่วนผลมะพร้าวได้ จากการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันแต่ละชนิด พบศัตรูมะพร้าวที่มีความเสี่ยงสูง 2 ชนิด คือ Monomorium destractor และ Anoplolepis gracilipes ความเสี่ยงปานกลาง - ต่ำ 5 ชนิด คือ Aspidiotus destructor, Chrysomphalus aonidum, Tetramorium similimum, Paratrechina longicornis และ Phytophthora palmivora ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเฉพาะสำหรับจัดการความเสี่ยงก่อนการส่งออก ได้แก่ การล้างและการปัดเพื่อกำจัดศัตรูพืชบริเวณผิวออก การเคลือบผิวเพื่อปูองกันการเข้าทำลายซ้ำของศัตรูพืช การวางกับดักเพื่อลดปริมาณมดที่อยู่บริเวณรอบหรือโรงเก็บ การใช้ความเย็นระหว่างการขนส่ง และกระบวนการผลิตที่ดีและเหมาะสม เช่น คัดขนาดและคุณภาพ รวมถึงบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่ปลอดภัยและเหมาะสม


ไฟล์แนบ
.pdf   169_2558.pdf (ขนาด: 2.58 MB / ดาวน์โหลด: 1,927)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม