07-12-2016, 04:32 PM
ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช
อานนท์ สายคำฟู, วิชยั โอภานุกุล, ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์, พิชญพงศ์ เมืองมูล, ธีรศักด์ิ โกเมฆ, บัณฑิต จิตรจำนง, กัณทิมา ทองศรี, นิภาภรณ์ พรรณรา, ดนัย ศารทูลพิทักษ์ และบาลทิตย์ ทองแดง
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก
อานนท์ สายคำฟู, วิชยั โอภานุกุล, ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์, พิชญพงศ์ เมืองมูล, ธีรศักด์ิ โกเมฆ, บัณฑิต จิตรจำนง, กัณทิมา ทองศรี, นิภาภรณ์ พรรณรา, ดนัย ศารทูลพิทักษ์ และบาลทิตย์ ทองแดง
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก
ประเทศไทยนับเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกที่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชยังไม่มีห้องเย็นสำหรับการเก็บรักษาเนื่องจากเทคโนโลยีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชมีต้นทุนสูงและยังใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงอีกด้วย สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตรจึงได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นเพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งระบบทำความเย็นที่ออกแบบนี้สามารถควบคุมได้ท้ังอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ โดยใช้วิธีทำความเย็นเพื่อควบแน่น (Condensing) แล้วอุ่นอากาศให้ร้อนขึ้นโดยการใช้พลังงานความร้อนจากสารทำความเย็นเพื่อปรับสภาวะอากาศให้เหมาะกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช ต้นแบบห้องเย็นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชมีขนาด 2.2 x 4.0 x 2.2 m(กว้างxยาวxสูง) ใช้โฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane) หนา 50 mm เป็นฉนวนห้องเย็นระบบทำความเย็นประกอบด้วย สารทำความเย็น R-22 มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาด 4 hp (380V/3Ph/50Hz) และมีความสามารถในการทำความเยน็ 5.85 kW ส่วนพัดลมคอล์ยเย็นมีอัตราการไหลเชิงมวลของอากาศเท่ากับ 0.6 kg.sec-1 และติดต้ังคอล์ยร้อนสำหรับลดความชื้นสัมพัทธ์ขนาด 6 kW ซึ่งในการทดสอบสัมประสิทธ์ิสมรรถนะทำความเย็น (Coefficient of Performance, COP) ไดกำหนดช่วงแรงดันของสารทำความเย็นด้านต่ำให้คงที่ที่ 50 psi และแรงดันด้านสูงไว้ 3 ช่วง คือ 190 - 220 psi, 220 - 250 psi และ 250 - 280 psi ผลการทดสอบสัมประสิทธิ์สมรรถนะทำความเย็นเท่ากับ 4.02, 3.13 และ 2.87 ตามลำดับ และการใชพลังงานไฟฟ้ า (kW/hours) เท่ากับ 0.46, 1.12 และ 2.17 ตามลำดับ ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าแรงดันด้านสูงของสารทำความเย็นในช่วง 190 - 220 psi เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 14.95±0.55 ˚C และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 45.81±0.82 %RH ต้นแบบห้องเย็นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชนี้สามารถลดต้นทุนเครื่องจักรและลดค่าพลังงานไฟฟ้าในส่วนของเครื่องลดความชื้น และสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในพื้นที่ต่างๆได้ตามต้องการ จึงเหมาะสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรและภาคเอกชนที่ต้องการจะลดต้นทุนการผลิตด้วยการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดี