คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช (/showthread.php?tid=1448)



ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช - doa - 07-12-2016

ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช
อานนท์ สายคำฟู, วิชยั โอภานุกุล, ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์, พิชญพงศ์ เมืองมูล, ธีรศักด์ิ โกเมฆ, บัณฑิต จิตรจำนง, กัณทิมา ทองศรี, นิภาภรณ์ พรรณรา, ดนัย ศารทูลพิทักษ์ และบาลทิตย์ ทองแดง
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก

          ประเทศไทยนับเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกที่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชยังไม่มีห้องเย็นสำหรับการเก็บรักษาเนื่องจากเทคโนโลยีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชมีต้นทุนสูงและยังใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงอีกด้วย สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตรจึงได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นเพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งระบบทำความเย็นที่ออกแบบนี้สามารถควบคุมได้ท้ังอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ โดยใช้วิธีทำความเย็นเพื่อควบแน่น (Condensing) แล้วอุ่นอากาศให้ร้อนขึ้นโดยการใช้พลังงานความร้อนจากสารทำความเย็นเพื่อปรับสภาวะอากาศให้เหมาะกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช ต้นแบบห้องเย็นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชมีขนาด 2.2 x 4.0 x 2.2 m(กว้างxยาวxสูง) ใช้โฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane) หนา 50 mm เป็นฉนวนห้องเย็นระบบทำความเย็นประกอบด้วย สารทำความเย็น R-22 มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาด 4 hp (380V/3Ph/50Hz) และมีความสามารถในการทำความเยน็ 5.85 kW ส่วนพัดลมคอล์ยเย็นมีอัตราการไหลเชิงมวลของอากาศเท่ากับ 0.6 kg.sec-1 และติดต้ังคอล์ยร้อนสำหรับลดความชื้นสัมพัทธ์ขนาด 6 kW ซึ่งในการทดสอบสัมประสิทธ์ิสมรรถนะทำความเย็น (Coefficient of Performance, COP) ไดกำหนดช่วงแรงดันของสารทำความเย็นด้านต่ำให้คงที่ที่ 50 psi และแรงดันด้านสูงไว้ 3 ช่วง คือ 190 - 220 psi, 220 - 250 psi และ 250 - 280 psi ผลการทดสอบสัมประสิทธิ์สมรรถนะทำความเย็นเท่ากับ 4.02, 3.13 และ 2.87 ตามลำดับ และการใชพลังงานไฟฟ้ า (kW/hours) เท่ากับ 0.46, 1.12 และ 2.17 ตามลำดับ ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าแรงดันด้านสูงของสารทำความเย็นในช่วง 190 - 220 psi เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 14.95±0.55 ˚C และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 45.81±0.82 %RH ต้นแบบห้องเย็นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชนี้สามารถลดต้นทุนเครื่องจักรและลดค่าพลังงานไฟฟ้าในส่วนของเครื่องลดความชื้น และสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในพื้นที่ต่างๆได้ตามต้องการ จึงเหมาะสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรและภาคเอกชนที่ต้องการจะลดต้นทุนการผลิตด้วยการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดี