12-25-2015, 03:43 PM
การศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอล
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, วาสนา วันดี, นัฐภัทร์ คำหล้า, ดารารัตน์ มณีจันทร์, สุจิตรา พิกุลทอง, ดุจลดา พิมรัตน์ และสุรีรัตน์ ทองคำ
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, วาสนา วันดี, นัฐภัทร์ คำหล้า, ดารารัตน์ มณีจันทร์, สุจิตรา พิกุลทอง, ดุจลดา พิมรัตน์ และสุรีรัตน์ ทองคำ
ปีงบประมาณ 2556/57 และ2557/58 ศึกษาและสำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย ในแปลงเปรียบเทียบอ้อยพันธุ์เบา (อายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น) ในไร่เกษตรกร (อ้อยชุด 2548) จำนวน 2 แปลง ที่ไร่เกษตรกร ต.ห้วยกระเจา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ศึกษาในอ้อยโคลนดีเด่น 9 โคลนแลอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ขนาดแปลงทดลอง 52 x 36 เมตร ขนาดแปลงทดลองย่อย 5.2 x 8.0 เมตร ปลูกอ้อยหลุมละ 2 ท่อนๆละ 2 ตา ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 2 ครั้งๆละ 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 2 และ 3 เดือน สำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ 2 เมื่ออ้อยอายุ 2 3 4 และ 5 เดือน ตั้งแต่ปี 2555 – 2557 บันทึกข้อมูลจำนวนหน่ออ้อยทั้งหมด และหน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย สำรวจชนิดของหนอนกอ ในระยะอ้อยแตกกอ ย่างปล้องและเป็นลำ ผลการทดลองพบว่าหนอนกอเข้าทำลายมากในระยะอ้อยแตกกอ และระยะอ้อยย่างปล้อง และลดน้อยลงในระยะอ้อยเป็นลำ ตามลำดับ และพบหนอนกอที่เข้าทำลาย 2 ชนิด ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก และหนอนกอสีขาว ที่ไร่เกษตรกร อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลายในระยะการเจริญเติบโต ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้องและระยะอ้อยเป็นลำของทุกโคลนพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง2 ทั้งในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ2 (ตารางที่ 1 และ2) เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.30 – 4.73 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ1 ได้แก่ No9. (สพ.50xJu-3)-2 , No1..(K84-200xอีเหี่ยว)-259 และ พันธุ์อู่ทอง2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย 2.30 ,2.57 และ2.73 ตามลำดับ ในอ้อยตอ2 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.32 – 6.73 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ2 ได้แก่ No4. UT 1-8-2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลาย 3.70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลายในระยะการเจริญเติบโต ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้องและระยะอ้อยเป็นลำของทุกโคลนพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง2 ทั้งในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ2 (ตารางที่ 3 และ4) ในอ้อยตอ1 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.91 – 11.02 เปอร์เซ็นต์ สภาพอากาศโดยรวมอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ1 ได้แก่ No3. UT 1-8-1 จำนวน 5.75 เปอร์เซ็นต์ และ No5. PB-18 หนอนกออ้อยเข้าทำลายหน่อมากที่สุด 11.02 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพันธุ์อู่ทอง2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย 5.91 เปอร์เซ็นต์ ในอ้อยตอ2 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.29 – 5.58 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์อ้อยที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ2 ได้แก่ No7. (สพ.50xJu-3)-9มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลาย 2.30 ใกล้เคียงกับ พันธุ์อู่ทอง 2 มีเปอร์เซ็นต์หน่อที่ถูกทำลาย 2.29 เปอร์เซ็นต์และ No5. PB-18 เป็นโคลนพันธุ์ที่หนอนกอเข้าทำลายหน่อมากที่สุด 5.58 เปอร์เซ็นต์