ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอล - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอล (/showthread.php?tid=976) |
ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอล - doa - 12-25-2015 การศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อส่งเสริมการผลิตเอทานอล วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, วาสนา วันดี, นัฐภัทร์ คำหล้า, ดารารัตน์ มณีจันทร์, สุจิตรา พิกุลทอง, ดุจลดา พิมรัตน์ และสุรีรัตน์ ทองคำ ปีงบประมาณ 2556/57 และ2557/58 ศึกษาและสำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย ในแปลงเปรียบเทียบอ้อยพันธุ์เบา (อายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น) ในไร่เกษตรกร (อ้อยชุด 2548) จำนวน 2 แปลง ที่ไร่เกษตรกร ต.ห้วยกระเจา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ศึกษาในอ้อยโคลนดีเด่น 9 โคลนแลอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ขนาดแปลงทดลอง 52 x 36 เมตร ขนาดแปลงทดลองย่อย 5.2 x 8.0 เมตร ปลูกอ้อยหลุมละ 2 ท่อนๆละ 2 ตา ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 2 ครั้งๆละ 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 2 และ 3 เดือน สำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ 2 เมื่ออ้อยอายุ 2 3 4 และ 5 เดือน ตั้งแต่ปี 2555 – 2557 บันทึกข้อมูลจำนวนหน่ออ้อยทั้งหมด และหน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย สำรวจชนิดของหนอนกอ ในระยะอ้อยแตกกอ ย่างปล้องและเป็นลำ ผลการทดลองพบว่าหนอนกอเข้าทำลายมากในระยะอ้อยแตกกอ และระยะอ้อยย่างปล้อง และลดน้อยลงในระยะอ้อยเป็นลำ ตามลำดับ และพบหนอนกอที่เข้าทำลาย 2 ชนิด ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก และหนอนกอสีขาว ที่ไร่เกษตรกร อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลายในระยะการเจริญเติบโต ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้องและระยะอ้อยเป็นลำของทุกโคลนพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง2 ทั้งในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ2 (ตารางที่ 1 และ2) เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.30 – 4.73 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ1 ได้แก่ No9. (สพ.50xJu-3)-2 , No1..(K84-200xอีเหี่ยว)-259 และ พันธุ์อู่ทอง2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย 2.30 ,2.57 และ2.73 ตามลำดับ ในอ้อยตอ2 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.32 – 6.73 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ2 ได้แก่ No4. UT 1-8-2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลาย 3.70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลายในระยะการเจริญเติบโต ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้องและระยะอ้อยเป็นลำของทุกโคลนพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยพันธุ์อู่ทอง2 ทั้งในอ้อยตอ1 และอ้อยตอ2 (ตารางที่ 3 และ4) ในอ้อยตอ1 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.91 – 11.02 เปอร์เซ็นต์ สภาพอากาศโดยรวมอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน โคลนพันธุ์ที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ1 ได้แก่ No3. UT 1-8-1 จำนวน 5.75 เปอร์เซ็นต์ และ No5. PB-18 หนอนกออ้อยเข้าทำลายหน่อมากที่สุด 11.02 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพันธุ์อู่ทอง2 มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกอเข้าทำลาย 5.91 เปอร์เซ็นต์ ในอ้อยตอ2 เปอร์เซ็นต์หนอนกอเข้าทำลายหน่ออ้อยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.29 – 5.58 เปอร์เซ็นต์ โคลนพันธุ์อ้อยที่หนอนกออ้อยเข้าทำลายน้อยที่สุดในอ้อยตอ2 ได้แก่ No7. (สพ.50xJu-3)-9มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หน่ออ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลาย 2.30 ใกล้เคียงกับ พันธุ์อู่ทอง 2 มีเปอร์เซ็นต์หน่อที่ถูกทำลาย 2.29 เปอร์เซ็นต์และ No5. PB-18 เป็นโคลนพันธุ์ที่หนอนกอเข้าทำลายหน่อมากที่สุด 5.58 เปอร์เซ็นต์
|