โครงการออกแบบเครื่องกะเทาะเมล็ดมะคาเดเมียระดับเกษตรกร
#1
โครงการออกแบบเครื่องกะเทาะเมล็ดมะคาเดเมียระดับเกษตรกร
สนอง อมฤกษ์, ประพัฒน์ ทองจันทร์ และวุฒิ จันทร์สระคู
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาเครื่องกะเทาะเมล็ดมะคาเดเมียระดับเกษตรกรแบบใช้แรงงานคนในการทำงาน เครื่องกะเทาะแบบใช้แรงคนมีหลายแบบ แต่แบ่งเป็น 2 หลักการ คือ หลักการบีบอัด (pressing) และหลักการกระแทก (impact) เครื่องกะเทาะเมล็ดมะคาเดเมียที่ใช้หลักการกระแทกสามารถทำการกะเทาะได้เร็วกว่า ได้เนื้อในเต็มเมล็ดสูงกว่า และเนื้อในสะอาดปราศจากเศษกะลา โดยการทดสอบที่ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ ผลการทดสอบได้เนื้อในเต็มเมล็ด 80.7 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในแตกซีก 19.3 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วในการกะเทาะ 4.07 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ภายหลังการปรับปรุงเครื่อง ได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบกับเครื่องกะเทาะแรงคน 2 แบบ คือ ค้อน และเครื่องบีบ ที่จังหวัดเชียงราย เลย และเพชรบูรณ์ ผลการทดสอบพบว่า การใช้ค้อนสามารถกะเทาะได้เนื้อในเต็มเมล็ด 67.73 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในแตก 32.27 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการกะเทาะ 4.68 กิโลกรัมต่อชั่วโมง การใช้เครื่องบีบสามารถกะเทาะได้เนื้อในเต็มเมล็ด 62.87 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในแตก 37.13 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วในการกะเทาะ 3.73 กิโลกรัมต่อชั่วโมง การใช้เครื่องกระแทกสามารถกะเทาะได้เนื้อในเต็มเมล็ด 89.87 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในแตก 10.13 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการกะเทาะ 5.20 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่การใช้งาน 2,777 กิโลกรัมต่อปี มีโรงงานผลิตและจำหน่าย 1 ราย จำหน่ายไปแล้ว 10 เครื่อง


ไฟล์แนบ
.pdf   1848_2553.pdf (ขนาด: 1.96 MB / ดาวน์โหลด: 606)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม