12-08-2015, 10:56 AM
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยการเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่พืช
ภาวนา ลิกขนานนท์, สุปรานี มั่นหมาย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต และธูปหอม พิเนตรเสถียร
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ภาวนา ลิกขนานนท์, สุปรานี มั่นหมาย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต และธูปหอม พิเนตรเสถียร
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้มีคุณภาพเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่พืช โดยการเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ลงในขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนแรกทำการผลิตปุ๋ยหมักซึ่งจัดว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งจากวัตถุดิบที่คัดเลือกว่าเหมาะสมคือ มูลโคนม โดยในขั้นตอนนี้มีการใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร ในขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักและได้ปุ๋ยหมักที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ใน 3 เดือน จากนั้นทำการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ประเภทเชื้อรา Trichoderma harzianum ลงในปุ๋ยหมักที่ผลิตได้โดยมีปริมาณเชื้อเท่ากับ 1 X 10(9) โคโลนีต่อกรัมปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้กับกล้ามะเขือเทศที่มีการเพาะเชื้อรา Sclerotinum rolfsii ซึ่งทำให้เกิดโรครากและโคนเน่าในพืชตระกูล Solanaceae จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยหมักที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์สามารถส่งเสริมให้พืชมีความแข็งแรงและมีชีวิตรอดจากการถูกเชื้อราโรคพืชเข้าทำลายในระยะกล้าได้ โดยเมื่อใช้ปุ๋ยหมักผสมเชื้อรา Trichoderma harzianum อัตรา 7 และ 10 เปอร์เซ็นต์ กล้ามะเขือเทศรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์