การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T. pacificus
#1
การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ Tenuipalpus pacificus
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมลวรรณ โชติวิวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus ให้เป็นปริมาณมากโดยใช้ไรขาวพริก ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ เกสรตีนตุ๊กแก และเกสรธูปฤาษีเป็นอาหารพบว่า สามารถขยายพันธุไรตัวห้ำ A.cinctus ได้ดี ด้วยการใช้ไรขาวพริกเป็นเหยื่อและให้เกสรธูปฤาษีเป็นอาหารเมื่อขาดแคลนไรขาวพริก การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A. cinctus ในการกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในห้องปฏิบัติการพบว่า ไรตัวห้ำกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ยวันละ 14.75 ตัว วางไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ฟอง การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A.cinctus ในการควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในเรือนทดลอง ผลการทดลองหลังทำการปล่อยไรตัวห้ำ และพ่นสารฆ่าไรบนกรรมวิธีต่างๆ พบว่า กรรมวิธีควบคุมไรโดยปล่อยไรตัวห้ำ 2, 5 ตัวต่อต้น และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าไรสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ย 64.8, 75.6 และ 88.4 เปอรเซ็นต์ ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า การปล่อยไรตัวห้ำ A. cinctus จำนวน 2-5 ตัวต่อตน แม้ว่าไม่สามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ดีเทียบเท่ากรรมวิธีการใช้สารฆ่าไร แต่มีแนวโน้มว่าสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ จึงวางแผนทำการทดสอบต่อไปในปี 2555


ไฟล์แนบ
.pdf   2010_2554.pdf (ขนาด: 185.91 KB / ดาวน์โหลด: 519)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม