การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T. pacificus - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T. pacificus (/showthread.php?tid=57) |
การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T. pacificus - doa - 10-13-2015 การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ Tenuipalpus pacificus มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมลวรรณ โชติวิวงศ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus ให้เป็นปริมาณมากโดยใช้ไรขาวพริก ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ เกสรตีนตุ๊กแก และเกสรธูปฤาษีเป็นอาหารพบว่า สามารถขยายพันธุไรตัวห้ำ A.cinctus ได้ดี ด้วยการใช้ไรขาวพริกเป็นเหยื่อและให้เกสรธูปฤาษีเป็นอาหารเมื่อขาดแคลนไรขาวพริก การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A. cinctus ในการกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในห้องปฏิบัติการพบว่า ไรตัวห้ำกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ยวันละ 14.75 ตัว วางไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ฟอง การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A.cinctus ในการควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในเรือนทดลอง ผลการทดลองหลังทำการปล่อยไรตัวห้ำ และพ่นสารฆ่าไรบนกรรมวิธีต่างๆ พบว่า กรรมวิธีควบคุมไรโดยปล่อยไรตัวห้ำ 2, 5 ตัวต่อต้น และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าไรสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ย 64.8, 75.6 และ 88.4 เปอรเซ็นต์ ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า การปล่อยไรตัวห้ำ A. cinctus จำนวน 2-5 ตัวต่อตน แม้ว่าไม่สามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ดีเทียบเท่ากรรมวิธีการใช้สารฆ่าไร แต่มีแนวโน้มว่าสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ จึงวางแผนทำการทดสอบต่อไปในปี 2555 |