วิจัยเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเผือก
#1
วิจัยเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเผือก
ทวีป หลวงแก้ว, กันยำรัตน์ ตันยำ, บุญเชิด แก้วสิทธิ์ และพินิจ เขียวพุ่มพวง

          การผลิตเผือกให้มีคุณภาพปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการผลิตเผือก การจัดการธาตุอาหารพืชให้เหมาะสมจะทำให้เกษตรกร สามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของการใส่ปุ๋ยเคมีลงได้ รวมทั้งนำไปวางแผนการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ทำการทดสอบการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตเผือกให้มีคุณภาพ ในแปลงเกษตรกรที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Randomized Complete Block Randomized Complete Block Randomized Complete Block Randomized Complete Block Randomized Complete Block Randomized Complete Block มี 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร 2) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของอ.ประทีป 3) วิธีเกษตรกร และ 4) ไม่ใส่ปุ๋ย ผลการวิเครำะห์ดินหลังการทดสอบปุ๋ยพบว่า ดินมีค่า pH เป็นกรดจัด (5.46) มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง (3.92 %) มีปริมาณฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง (22.52 มก./กก.) โพแทสเซียมต่ำ (52.64 มก./กก.) และมีปริมาณไนโตรเจนสูง (0.17 % total N) total N) total N) total N) total N) และมีลักษณะเนื้อดินแบบดินเหนียวปนทรายแป้ง จากผลการทดลองพบว่า ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีในวิธีเกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 4,220 บาทต่อไร่ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของอ.ประทีป มีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 746.80 บาทต่อไร่ และวิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร มีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 384 บาทต่อไร่ ทางด้านรายได้ผลตอบแทนพบว่า การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของ อ.ประทีป ให้ผลตอบแทนมีรายได้มากที่สุด 56,696.20 บาทต่อไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าวิธีเกษตรกร 7,196.20 บาทต่อไร่


ไฟล์แนบ
.pdf   62_2561.pdf (ขนาด: 703.14 KB / ดาวน์โหลด: 1,134)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม