ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในถั่วฝักยาว
#1
ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในถั่วฝักยาว
พวงผกา อ่างมณี, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น, บุษบง มนัสมั่นคง, ธีราทัย บุญญะประภา และวรางคณา โชติเศรษฐี
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

          ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในถั่วฝักยาว ดำเนินการทดลองที่แปลงถั่วฝักยาวของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block (RCB) 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ดังนี้ พ่นสาร indoxacarb 15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร spinetoram 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร flubendiamide 20% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร chlorantraniliprole 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร deltamethrin 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และ etofenprox 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร พบว่า สาร indoxacarb 15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร spinetoram 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร flubendiamide 20% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร chlorantraniliprole 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร deltamethrin 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และ etofenprox 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในถั่วฝักยาว โดยทุกกรรมวิธีที่พ่นสารฯ พบจำนวนหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารกำจัดแมลง และการพ่นสารกำจัดแมลงทุกกรรมวิธีไม่พบอาการเป็นพิษกับถั่วฝักยาว และจะดำเนินการทดสอบเพื่อยืนยันผลในปีถัดไป


ไฟล์แนบ
.pdf   205_2560.pdf (ขนาด: 270.37 KB / ดาวน์โหลด: 855)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม