การทดสอบพันธุ์คะน้าและกวางตุ้งในแหล่งปลูกต่างๆ เพื่อผลิตลูกผสมเปิด
#1
การทดสอบพันธุ์คะน้า (ใบและยอด) และกวางตุ้ง (ใบและดอก) ในแหล่งปลูกต่างๆ เพื่อผลิตลูกผสมเปิด
อรทัย วงค์เมธา, กฤษณ์ ลินวัฒนา, กิตติชัย แซ่ย่าง, อนุภพ เผือกผ่อง และวีรพรรณ ตันเส้า
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยพืชสวน

          การทดสอบพันธุ์คะน้า (ใบและยอด) และกวางตุ้ง (ใบและดอก) ที่นำมาจากแหล่งปลูกที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาผลิตลูกผสมเปิดทนร้อนในพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ คะน้า, ผักกาดกวางตุ้ง และผักกาดฮ่องเต้ ซึ่งเป็นลูกผสมที่ได้รับจาก Asian Vegetable Research and Development Center–The world vegetable center (AVRDC-The world vegetable center) โดยได้ดำเนินการในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ปี 2555 - 2557 โดยการปลูกผักกาดกวางตุ้งพันธุ์การค้า No.1-4 ปลูกเปรียบเทียบกับผักกาดกวางตุ้งลูกผสมพันธุ์น่าน และลูกผสมที่ได้รับมาจาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้ลูกผสมทนร้อน ได้แก่ กวางตุ้งสายพันธุ์ LB 012 และ LB 01 พบว่าผักกาดกวางตุ้ง พันธุ์การค้า No.1, No.5 และ No.4 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด, พันธุ์การค้า No.5 และ No.4 มีขนาดความยาว - กว้างใบมากที่สุด, พันธุ์การค้า No.3 และ No.5 มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงที่สุด, พันธุ์การค้า No.4 มีผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด ส่วนผักกาดกวางตุ้งพันธุ์ LB 010 มีความหนาก้านใบ และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ, น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเหลืองอมเขียวเข้ม-สีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 142A - 143C ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียว ค่าสีอยู่ระหว่าง 138A - 137D และปลูกผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า No. 1-5 เปรียบเทียบกับผักกาดฮ่องเต้ลูกผสมจาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้ลูกผสมทนร้อน ได้แก่ สายพันธุ์ LB 003 พบว่าผักกาดฮ่องเต้ พันธุ์การค้า No.1 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด, มีขนาดความยาว - กว้างใบมากที่สุด, มีความยาว - ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบมากที่สุด, มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยว, น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความยาว - กว้างใบ, ความยาว - ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ, น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. ของพันธุ์การค้า No.1 ไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าพันธุ์อื่น นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเขียวอ่อน ค่าสีอยู่ระหว่าง 140C - 143D ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 137B - 139A ส่วนการทดสอบพันธุ์คะน้าในช่วงเหลื่อมฤดูร้อน เพื่อหาคะน้าลูกผสมที่ทนร้อน พบว่าต้นคะน้าสายพันธุ์ LB 001 มีการเจริญเติบโต ด้านความสูงดีที่สุด และทรงพุ่มในช่วงสัปดาห์แรกมากที่สุด, มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงถึง 96.7%, น้ำหนักต่อต้นสูง, น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูง และ LB 002 มีการเจริญเติบโตด้านความสูง, ทรงพุ่ม, มีขนาดใบกว้าง, เส้นผ่าศูนย์กลางยอดใหญ่, เปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูง 83.3%, น้ำหนักต่อต้นสูงที่สุด, น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าอื่น 


ไฟล์แนบ
.pdf   212_2557.pdf (ขนาด: 646.15 KB / ดาวน์โหลด: 8,226)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม