10-13-2016, 02:04 PM
วิจัยและพัฒนาการตรวจสอบปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสด
อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, กลวัชร ทิมินกุล, พักตร์วิภา สุทธิวารี และสนอง อมฤกษ์
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกียว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, กลวัชร ทิมินกุล, พักตร์วิภา สุทธิวารี และสนอง อมฤกษ์
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกียว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
เพื่อให้การวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังในการซื้อขายหัวมันสำปะหลังสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และยุติธรรม และใช้ปริมาณตัวอย่างน้อยตลอดจนเพื่อได้เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง โดยการวัดค่าความถ่วงจำเพาะจากหัวมันสำปะหลังสด การวิจัยและพัฒนาดำเนินการโดยศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสดกับปริมาณแป้งมันสำปะหลังในหัวมันสำปะหลังที่ตรวจสอบด้วยวิธีการทางกลโดยการปั่น กรอง ตกตะกอน และอบแห้งในห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาจากหัวมันสำปะหลังสดจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 4 ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 11 ห้วยบง 60 ห้วยบง 80 เขียวปลดหนี้ และเกษตรศาสตร์ 50 รวมประมาณ 2,400 ตัวอย่าง แล้วนำสมการความสัมพันธ์ที่ได้ไปใช้ในการคำนวณ และวัดคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ และแสดงค่าเป็นตัวเลขดิจิตอลทางหน้าจอ LCD การพัฒนาได้เครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือ 1) ระบบกลไกการหมุน และ 2) ระบบการวัดคุม ประมวลผล และแสดงผล โดยระบบกลไกการหมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมการหมุนเป็นวงกลม และหยุดเป็นเป็นช่วงๆ ด้วยกลไกเจนีวา (Geneva mechanism) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ 4 สถานี ประกอบไปด้วย ก) การใส่และเอาตัวอย่างหัวมันสดออก ข) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในอากาศ ค) การเติมน้ำ ง) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในน้ำ ระบบการวัดคุม ประมวลผล และแสดงผล ออกแบบให้มีการชั่งคล้ายเครื่องชั่งไฟฟ้าในแต่ละสถานีที่มีการชั่ง โดยออกแบบให้มีกลไกไปกดน้ำหนักลงที่ Weight Transducer ซึ่งออกแบบโดยใช้โหลดเซลแบบ single point ขนาด 10 กิโลกรัม ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากโหลดเซลออกแบบให้ถูกขยายและลดค่าผิดเพี้ยนด้วย Instrumentation Amplifier เบอร์ INA114 แล้วถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลความละเอียดสูงด้วย MCP3551 ที่มีการต่อวงจรแบบ Delta-sigma เพื่อสัญญาณเรียบ มีความละเอียดสูง ถูกต้อง มีอัตราสุ่มต่ำเหมาะกับงานเครื่องมือวัด แล้วส่งสัญญาณเข้าไปยังชุดประมวลผลโดยใช้ PIC Microcontroller คำนวณเป็นค่าความถ่วงจำเพาะและแปรค่าเป็นค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง แสดงผลออกทางหน้าจอ LCD ตามลำดับ ผลการทดสอบการทำงานเครื่องสามารถทำการวัดได้ 24 วินาที/ตัวอย่าง แตํผลการวัดยังมีความแปรปรวนเนื่องจากยังคงมีปัญหาขณะทำการชั่งซึ่งระบบกลไกการหมุนและหยุดชั่งยังไม่นิ่งพอ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
ศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสดในการหาเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสด
ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล และกลวัชร ทิมินกุล
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
เพื่อให้ได้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสดกับปริมาณแป้งมันสำปะหลังในหัวมันสำปะหลังสด สำหรับใช้เป็นสมการในการออกแบบต้นแบบเครื่องวัดปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสด ดำเนินการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสดกับปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสดซึ่งทำการตวัดโดยตรงจากการนำมาปั่น กรอง ตกตะกอน และอบแห้ง โดยศึกษาจากหัวมันสำปะหลังสดจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 4 ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 11 ห้วยบง 60 ห้วยบง 80 เขียวปลดหนี้ และเกษตรศาสตร์ 50 รวมประมาณ 2,400 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ได้สมการเส้นตรงที่มีความเชื่อมั่น 95% (R2= 0.9521) จำเป็นต้องได้รับการศึกษาและวิเคราะห์เพิ่มเติมในเรื่องของจำนวนตัวอย่าง และครอบคลุมพันธุ์มันสำปะหลังที่ปีการผลิตในปัจจุบันทั้งหมด
วิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดโดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะอย่างแม่นยำและรวดเร็วโดยการวัดควบคุม และแสดงผลด้วยอุปกรณ์ไมโครคอนโทรเลอร์
ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล และกลวัชร ทิมินกุล
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
เพื่อให้การวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังในการซื้อขายหัวมันสำปะหลังสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และยุติธรรม และเพื่อเป็นเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ได้ดำเนินการศึกษา ทดสอบ และพัฒนาเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังจากหัวมันสำปะหลังสด โดยใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสด เครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือ 1) ระบบกลไกการหมุน และ 2) ระบบการวัดคุม โดยระบบกลไกการหมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมการหมุนเป็นวงกลม และหยุดเป็นเป็นช่วงๆ ด้วยกลไกเจนีวา (Geneva mechanism) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ 4 สถานี ประกอบไปด้วย 1) การใส่และเอาตัวอย่างหัวมันสดออก 2) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในอากาศ 3) การเติมน้ำ 4) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในน้ำ เครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือ กลไกควบคุมการหมุน และระบบควบคุมการชั่งประมวลผล และแสดงผล ระบบการวัดคุม ประกอบด้วยการควบคุมการเติมน้ำ การชั่งน้ำหนัก การประมวลผลและแสดงผล การชั่งในสถานีที่มีการชั่ง ออกแบบให้มีการชั่งคล้ายเครื่องชั่งไฟฟ้า โดยออกแบบให้มีกลไกไปกดน้ำหนักลงที่ Weight Transducer ซึ่งออกแบบโดยใช้โหลดเซลแบบ single point ขนาด 10 กิโลกรัม ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากโหลดเซลออกแบบให้ถูกขยายและลดค่าผิดเพี้ยนด้วย Instrumentation Amplifier เบอร์ INA114 แล้วถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลความละเอียดสูงด้วย MCP3551 ที่มีการต่อวงจรแบบ Delta-sigma เพื่อสัญญาณเรียบ มีความละเอียดสูง ถูกต้อง มีอัตราสุ่มต่ำเหมาะกับงานเครื่องมือวัด แล้วส่งสัญญาณเข้าไปยังชุดประมวลผล โดยใช้ PIC Microcontroller คำนวณเป็นค่าความถ่วงจำเพาะและแปรค่าเป็นค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง แสดงผลออกทางหน้าจอ LCD ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในส่วนวงจรไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ เพื่อการวัด ควบคุม ประมวลผล และแสดงผลด้วยหน้าจอดิจิตอล ได้ทำการทดสอบเบื้องต้นระบบตรวจจับวัสดุ ระบบวัดระดับน้ำ และระบบชั่งน้ำหนัก โดยระบบตรวจจับวัสดุเบื้องต้นพบว่าหลอดไฟอินฟราเรดภาคเบอร์ TOIR-50b94bCEa และ TSAL7400 และ TSOP4838 ยังไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานตรวจจับวัสดุของต้นแบบเครื่องวัดฯ เนื่องจากการตรวจจับวัสดุในระยะไม่เกินระยะ 10 เซ็นติเมตร ไม่สามารถรับสัญญาณได้ในบางตำแหน่งจึงควรทำการศึกษาหาอุปกรณ์อินฟราเรดที่เหมาะสมสำหรับต้นแบบต่อไป การทดสอบระบบตรวจวัดระดับน้ำเบื้องต้นพบว่า สามารถใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำเพื่อเปิดและปิดปั้มได้ และสามารถใช้ได้กับน้ำประปาและน้ำกรอง การติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อเปิดปิดน้ำระบบจะทำการตัดต่อการทำงานของรีเลย์ทันทีที่น้ำสัมผัสขั้วของเซ็นเซอร์ ระบบตรวจวัดน้ำหนักเบื้องต้นแบบทดสอบกับโหลดเซลตัวเดียวสามารถวัดน้ำหนักได้ละเอียดเป็นหน่วยกรัม
ทดสอบและพัฒนาการใช้ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดโดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะในเขตพื้นทีการเพาะปลูกมันสำปะหลังภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ
ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล และกลวัชร ทิมินกุล
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดโดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะในกิจกรรมที่ 2 ได้ถูกทดสอบและพัฒนาการใช้ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งฯ โดยปรับปรุงพัฒนาส่วนประกอบอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น ส่วนตรวจจับวัสดุที่เหมาะสมใช้เซ็นเซอร์เบอร์ TCRT5000 สูตรการคำนวณหาความถ่วงจำเพาะเพื่อใช้กับต้นแบบเครื่องวัดฯ การปรับปรุงคานกดน้ำหนักแบบไม่กระดก การปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมของต้นแบบเครื่องวัดฯ ให้ทำงานสอดคล้องกับระบบแมคคานิค การทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดสามารถใช้งานได้