08-08-2016, 04:44 PM
กระบวนการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อเพาะเห็ดฟางคุณภาพ
อัจฉรา พยัพพานนท์, สุรางค์ สุธิราวุธ, พุฒนา รุ่งระวี, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช กลุ่มวิจัยกีฏะและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัย และวิเคราะห์สถิติการเกษตร ศูนย์สารสนเทศ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อัจฉรา พยัพพานนท์, สุรางค์ สุธิราวุธ, พุฒนา รุ่งระวี, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช กลุ่มวิจัยกีฏะและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัย และวิเคราะห์สถิติการเกษตร ศูนย์สารสนเทศ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อเพาะเห็ดฟางจะมีแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus spp. ที่มีบทบาทสำคัญต่อการย่อยสลายวัสดุที่จะทำปุ๋ยหมักให้ได้สารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญของเห็ดฟางและควบคุมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ปนเปื้อนอยู่ในปุ๋ยหมัก เพื่อให้ได้ผลผลิตเห็ดฟางที่มีคุณภาพดีและได้ปริมาณมากจากการเพาะเห็ดฟางระบบโรงเรือนจึงได้ทดสอบการเพาะเห็ดฟางด้วยปุ๋ยหมักที่ไม่เติมแบคทีเรีย Bacillus spp., เติม Bacillus sp.B-1, เติม Bacillus sp.B-2, และเติมอาหารเหลว (Nutrient broth) เปรียบเทียบผลผลิต ดำเนินการระหว่างตุลาคม 2550 - กันยายน 2552 ที่ฟาร์มเพาะเห็ดฟางของเกษตรกรที่อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลการทดลองทั้งปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ. 2552 พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักที่เติม Bacillus sp.B-1, Bacillus sp.B-2 เพาะเห็ดฟางให้ผลผลิต 4.28, 4.21 (ปี พ.ศ. 2551) และ 3.74, 3.99 (ปี พ.ศ. 2552) สูงกว่าการเพาะด้วยปุ๋ยหมักที่เติมอาหารเหลวและปุ๋ยหมักไม่ได้เติมแบคทีเรียที่ได้ผลผลิต 3.44, 3.50 (ปี พ.ศ. 2551) และ 3.24, 3.34 (ปี พ.ศ. 2552) กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตลอดการเพาะของช่วงฤดูหนาว ร้อน และฤดูฝนทั้ง 2 ปี