06-29-2016, 10:21 AM
การเปรียบมาตรฐาน : พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ทนทานแล้ง
พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, สมโภชน์ แก้วเทียน, เสกสรร อุดมการเกษตร, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, อรรณพ กสิวิวัฒน์, ทิพย์ดรุณี สิทธินาม และปรีชา แสงโสดา
พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, สมโภชน์ แก้วเทียน, เสกสรร อุดมการเกษตร, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, อรรณพ กสิวิวัฒน์, ทิพย์ดรุณี สิทธินาม และปรีชา แสงโสดา
จากการเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง โดยใช้พันธุ์นครสวรรค์ 2 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ตั้งแต่ปี 2549 – 2551 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design 4 ซ้ำ 4 แถวต่อแปลงย่อย ปลูกข้าวโพดเป็นแถวยาว 5 เมตร ใช้ระยะปลูก 75 x 20 เซนติเมตร จำนวน 1 ต้นต่อหลุม พบว่าลักษณะผลผลิตมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อม และมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ในปี 2549 มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมจำนวน 6 พันธุ์ ให้ผลผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (1,083 กก./ไร่) ร้อยละ 7 - 20 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ปี 2550 พบว่ามีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม จำนวน 9 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (1,067 กก./ไร่) ร้อยละ 8 - 22 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และปี 2551 พบว่า มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม 3 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (975 กก./ไร่) ร้อยละ 9 - 10 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากการทดลองใน 3 ปี พบว่ามีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมจากศวร.นครสวรรค์ จำนวน 13 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 ได้แก่ NSX 042007 NSX 042027 NSX 042009 NSX 042021 NSX 042011 NSX 052012 NSX 052014 NSX 052018 NSX 062029 NSX 052016 NSX 052015 NSX 062011 และNSX 072009 ซึ่งพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเหล่านี้จะถูกนำไปประเมินผลผลิตในขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการเปรียบเทียบในสภาพท้องถิ่น ประเมินความทนทานแล้งแล้วนำไปเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โดยประเมินการยอมรับของเกษตรกรเพื่อเป็นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นทนทานแล้ง