คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การเปรียบมาตรฐาน : พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ทนทานแล้ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การเปรียบมาตรฐาน : พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ทนทานแล้ง (/showthread.php?tid=1334)



การเปรียบมาตรฐาน : พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ทนทานแล้ง - doa - 06-29-2016

การเปรียบมาตรฐาน : พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ทนทานแล้ง
พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, สมโภชน์ แก้วเทียน, เสกสรร อุดมการเกษตร, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, อรรณพ กสิวิวัฒน์, ทิพย์ดรุณี สิทธินาม และปรีชา แสงโสดา

          จากการเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง โดยใช้พันธุ์นครสวรรค์ 2 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ตั้งแต่ปี 2549 – 2551 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design 4 ซ้ำ 4 แถวต่อแปลงย่อย ปลูกข้าวโพดเป็นแถวยาว 5 เมตร ใช้ระยะปลูก 75 x 20 เซนติเมตร จำนวน 1 ต้นต่อหลุม พบว่าลักษณะผลผลิตมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อม และมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ในปี 2549 มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมจำนวน 6 พันธุ์ ให้ผลผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (1,083 กก./ไร่) ร้อยละ 7 - 20 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ปี 2550 พบว่ามีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม จำนวน 9 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (1,067 กก./ไร่) ร้อยละ 8 - 22 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และปี 2551 พบว่า มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม 3 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 (975 กก./ไร่) ร้อยละ 9 - 10 ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากการทดลองใน 3 ปี พบว่ามีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมจากศวร.นครสวรรค์ จำนวน 13 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 2 ได้แก่ NSX 042007 NSX 042027 NSX 042009 NSX 042021 NSX 042011 NSX 052012 NSX 052014 NSX 052018 NSX 062029 NSX 052016 NSX 052015 NSX 062011 และNSX 072009 ซึ่งพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเหล่านี้จะถูกนำไปประเมินผลผลิตในขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการเปรียบเทียบในสภาพท้องถิ่น ประเมินความทนทานแล้งแล้วนำไปเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โดยประเมินการยอมรับของเกษตรกรเพื่อเป็นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นทนทานแล้ง