ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย
#1
ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย
จรรยา มณีโชติ, วันทนา เลิศศิริวรกุล, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, สุพัตรา ชาวกงจักร, สุนี ศรีสิงห์, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และยุรวรรณ อนันตนมณี
ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          ผลการดำเนินงานในปี 2556 จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างวัชพืชที่คาดว่ามีความต้านทานสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในแปลงอ้อย จำนวน 80 แปลง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 31 แปลง อุดรธานี 17 แปลง มหาสารคาม จำนวน 9 แปลง หนองบัวลำภู จำนวน 8 แปลง ร้อยเอ็ด จำนวน 4 แปลง กาฬสินธุ์ 4 แปลง มุกดาหาร 4 แปลง และชัยภูมิ 3 แปลง จากการสำรวจวัชพืชที่พบมากที่สุดในแปลงอ้อย ได้แก่ สาบม่วง (37.5%) หญ้าตีนนก (32.5%) หญ้าปากควาย (17.5%) วัชพืชประเภทกก (12.5%) ได้ดำเนินการปลูกทดสอบความต้านทานของวัชพืชต่อสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในอ้อย โดยเลือกใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat 27.6% อัตรา 40 g ai/ไร่ ท าการทดสอบกับวัชพืชทั้งหมด 134 ประชากร หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชไม่พบจำนวนต้นวัชพืชรอดตาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วัชพืชที่ได้จากการสำรวจยังไม่ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช paraquat และในขณะนี้ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างวัชพืชให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นและทดสอบความต้านทานสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นๆ ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   4_2556.pdf (ขนาด: 530.74 KB / ดาวน์โหลด: 1,246)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม