ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย (/showthread.php?tid=960) |
ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย - doa - 12-25-2015 ศึกษาสถานการณ์การระบาดและการจัดการปัญหาของวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชในอ้อย จรรยา มณีโชติ, วันทนา เลิศศิริวรกุล, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, สุพัตรา ชาวกงจักร, สุนี ศรีสิงห์, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และยุรวรรณ อนันตนมณี ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ผลการดำเนินงานในปี 2556 จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างวัชพืชที่คาดว่ามีความต้านทานสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในแปลงอ้อย จำนวน 80 แปลง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 31 แปลง อุดรธานี 17 แปลง มหาสารคาม จำนวน 9 แปลง หนองบัวลำภู จำนวน 8 แปลง ร้อยเอ็ด จำนวน 4 แปลง กาฬสินธุ์ 4 แปลง มุกดาหาร 4 แปลง และชัยภูมิ 3 แปลง จากการสำรวจวัชพืชที่พบมากที่สุดในแปลงอ้อย ได้แก่ สาบม่วง (37.5%) หญ้าตีนนก (32.5%) หญ้าปากควาย (17.5%) วัชพืชประเภทกก (12.5%) ได้ดำเนินการปลูกทดสอบความต้านทานของวัชพืชต่อสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในอ้อย โดยเลือกใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat 27.6% อัตรา 40 g ai/ไร่ ท าการทดสอบกับวัชพืชทั้งหมด 134 ประชากร หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชไม่พบจำนวนต้นวัชพืชรอดตาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วัชพืชที่ได้จากการสำรวจยังไม่ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช paraquat และในขณะนี้ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างวัชพืชให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นและทดสอบความต้านทานสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นๆ ต่อไป
|