12-21-2015, 10:55 AM
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta D.S. Mitchell)
ศิริพร ซึงสนธิพร, วิทยา พงษ์ทอง, จรัญญา ปิ่นสุภา และธัญชนก จงรักไทย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และด่านตรวจพืชสะเดา สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ศิริพร ซึงสนธิพร, วิทยา พงษ์ทอง, จรัญญา ปิ่นสุภา และธัญชนก จงรักไทย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และด่านตรวจพืชสะเดา สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
จอกหูหนูยักษ์ (Giant Salvinia : Salvinia molesta D.S. Mitchell) เป็นเฟิร์นน้ำต่างถิ่นที่รุกรานมากที่สุด และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชร้ายแรงที่สุดของโลกชนิดหนึ่งด้วย ประเทศไทยได้ประกาศพืชชนิดนี้เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน ตั้งแต่ธันวาคม 2521 และยังคงสภาพการเป็นสิ่งต้องห้ามในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฝ้าระวังการไม่ให้จอกหูหนูยักษ์ระบาด และกลับมาระบาดใหม่ในพื้นที่ที่เคยพบแล้ว โดยการสำรวจในพื้นที่แบบเจาะจงและสืบพบในตลาดพรรณไม้แหล่งน้ำใกล้สถานที่ที่พบจอกหูหนูยักษ์ และแหล่งที่ได้รับแจ้งจากประชาชน ผลจากดำเนินการระหว่างตุลาคม 2551 - กันยายน 2553 พบจอกหูหนูยักษ์ 2 แหล่งใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง และแหล่งน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา นอกนั้นพบจำหน่าย 1 แห่ง และใช้จอกหูหนูยักษ์ประดับ 4 แห่ง การจัดการเมื่อพบจอกหูหนูยักษ์ในปริมาณไม่มาก เช่น จำหน่ายตามร้านค้า ใช้วิธีอธิบาย ทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือในการกำจัดโดยเก็บออกและนำไปทำลาย ส่วนที่พบในปริมาณมาก แจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อร่วมกันในการกำจัดและเฝ้าระวังต่อไป