การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta D.S. Mitchell) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta D.S. Mitchell) (/showthread.php?tid=805) |
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta D.S. Mitchell) - doa - 12-21-2015 การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta D.S. Mitchell) ศิริพร ซึงสนธิพร, วิทยา พงษ์ทอง, จรัญญา ปิ่นสุภา และธัญชนก จงรักไทย กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และด่านตรวจพืชสะเดา สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร จอกหูหนูยักษ์ (Giant Salvinia : Salvinia molesta D.S. Mitchell) เป็นเฟิร์นน้ำต่างถิ่นที่รุกรานมากที่สุด และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชร้ายแรงที่สุดของโลกชนิดหนึ่งด้วย ประเทศไทยได้ประกาศพืชชนิดนี้เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน ตั้งแต่ธันวาคม 2521 และยังคงสภาพการเป็นสิ่งต้องห้ามในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฝ้าระวังการไม่ให้จอกหูหนูยักษ์ระบาด และกลับมาระบาดใหม่ในพื้นที่ที่เคยพบแล้ว โดยการสำรวจในพื้นที่แบบเจาะจงและสืบพบในตลาดพรรณไม้แหล่งน้ำใกล้สถานที่ที่พบจอกหูหนูยักษ์ และแหล่งที่ได้รับแจ้งจากประชาชน ผลจากดำเนินการระหว่างตุลาคม 2551 - กันยายน 2553 พบจอกหูหนูยักษ์ 2 แหล่งใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง และแหล่งน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา นอกนั้นพบจำหน่าย 1 แห่ง และใช้จอกหูหนูยักษ์ประดับ 4 แห่ง การจัดการเมื่อพบจอกหูหนูยักษ์ในปริมาณไม่มาก เช่น จำหน่ายตามร้านค้า ใช้วิธีอธิบาย ทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือในการกำจัดโดยเก็บออกและนำไปทำลาย ส่วนที่พบในปริมาณมาก แจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อร่วมกันในการกำจัดและเฝ้าระวังต่อไป
|