ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการมีชีวิตรอดและประสิทธิภาพการเข้าทำลายแมลงของไส้เดือนฝอย
#1
ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการมีชีวิตรอดและประสิทธิภาพการเข้าทำลายแมลงของไส้เดือนฝอย Steinernema และ Heterorhabditid
วิไลวรรณ เวชยันต์ และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบชนิดดินต่อความสามารถในการอยู่รอดและเข้าทำลายแมลงของไส้เดือนฝอย Steinernema riobrave และ Steinernema siamkayai ภายใต้อุณหภูมิ 30 และ 35 องศาเซลเซียส ดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2553 วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD 2 ปัจจัย (3x2) มี 4 ซ้ำ คือ ปัจจัย A ชนิดดิน ได้แก่ ดินทราย ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ปัจจัย B ชนิดไส้เดือนฝอย S. riobrave และ S. siamkayai ดำเนินการทดลองโดยดัดแปลงจากวิธีการของ (Glazer et al., 2000) พบว่าที่ 30 องศาเซลเซียส S. riobrave สามารถมีชีวิตรอดในดินทรายได้นานกว่าดินร่วนปนทรายและดินเหนียว ในดินร่วนปนทรายความสามารถในการอยู่รอดลดลงอย่างรวดเร็วและมีค่าเท่ากับศูนย์ภายใน 20 - 35 วัน ในดินเหนียวความสามารถในการอยู่รอดของ S. riobrave และ S. siamkayai อยู่ในระดับต่ำ (20 และ 15%) และลดลงอย่างช้า ๆ จนกระทั่งไม่สามารถอยู่รอดได้หลังการทดลอง 25 - 30 วัน ที่อุณหภูมิสูง 35 องศาเซลเซียส ไส้เดือนฝอย S. riobrave สามารถอยู่รอดในดินทรายได้ในระดับสูง (95%) S. siamkayai มีอัตราการรอดชีวิตในระดับต่ำ (30%) ช่วง 5 - 10 วันหลังการทดลองการรอดชีวิตจะลดลงอย่างช้า ๆ จากนั้นการรอดชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วและเท่ากับศูนย์ภายใน 30 วัน ในดินเหนียวความสามารถในการรอดชีวิตของไส้เดือนฝอย S. riobrave และ S. siamkayai จะลดลงอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถอยู่รอดได้ภายในเวลา 20 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1637_2553.pdf (ขนาด: 115.78 KB / ดาวน์โหลด: 993)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม