การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง
#1
การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi)
สุรีย์พร บัวอาจ, อมรรัตน์ ภู่ ไพบูลย์, ทัศนาพร ทัศคร, บุษราคัม อุดมศักดิ์, รุ่ งนภา คงสุวรรณ และรัศมี เหล็กพรหม
กลุ่ มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืช และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ น

          จากการเลี้ยงเห็ดเรืองแสง N. nambi ไอโซเลต PW2 ในอาหารเหลว MEB ตั้งเก็บไว้ในห้องมืดให้แสง 2 ชั่วโมงต่อวัน ที่ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน แล้วนำไปสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยเอทิลอะซีเตต (ethyl acetate, EtOAc) ผลได้สาร aurisin A จำนวน 2.5 กรัม ส่วนการเก็บรวบรวมเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ จากศูนย์เก็บเชื้อ culture collections พบว่าเชื้อราที่แยกได้จากกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดา ไม่สามารถเลี้ยงให้เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ และเชื้อราที่ไม่บริสุทธิ์ จึงเก็บตัวอย่างเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดาใหม่โดยเก็บจากแหล่งปลูกกล้วยไม้ จ.นครปฐม จำนวน 1 ไอโซเลท เนื่องจากช่วงที่ไปสำรวจตัวอย่างสภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเกิดโรค


ไฟล์แนบ
.pdf   2318_2555.pdf (ขนาด: 833.7 KB / ดาวน์โหลด: 1,112)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม