11-19-2015, 01:56 PM
การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งในระดับเกษตรกร
บูรณี พั่ววงษแพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
บูรณี พั่ววงษแพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งที่มีสาเหตุจากเชื้อ Ralstonia solanacearum ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ no.4 แบบผง ในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ แต่ละกรรมวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ no.4 แบบผงต่างกัน คือ แช่หัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยผงเชื้อก่อนปลูก รองก้นหลุมด้วยผงเชื้อก่อนปลูก และคลุกหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยผงเชื้อก่อนปลูก จากนั้นรดด้วยสารละลายผงเชื้ออัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน จำนวน 5 ครั้ง ในทุกกรรมวิธี เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ B. subtilis แบบผง พบว่ากรรมวิธีแช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกมันฝรั่งเป็นโรคเหี่ยว 37.8 เปอร์เซ็นต์ กรรรมวิธีรองก้นหลุมก่อนปลูกมันฝรั่งเป็นโรคเหี่ยว 36.2 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีคลุกหัวพันธุ์ก่อนปลูกมันฝรั่งเป็นโรคเหี่ยว 34.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้ง 3 กรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ B. subtilis แบบผงที่มีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคเหี่ยวเท่ากับ 88.4 สรุปได้ว่าทุกกรรมวิธีสามารถทำให้มันฝรั่งในแปลงทดลองมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเหี่ยวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมซึ่งไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ no.4 แบบผง