06-05-2019, 09:31 AM
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลแปรรูปในกระบวนการทำแป้งจากธัญพืชและผลผลิตเกษตรระดับกลุ่มเกษตรกร
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ, วิบูลย์ เทเพนทร์, สมเดช ไทยแท้, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์ และอัคคพล เสนำณรงค์
วิจัยและพัฒนาเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลม
มานพ รักญาติ, ปรีชา อานันทืรัตนกุล, จิรวัสส์ เจียตระกูล, วิบูลย์ เทเพนทร์ และสุเมธ กาศสกุล
วิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำ
ปรีชา อานันท์รัตนกุล, วิบูลย์ เทเพนทร์, มานพ รักญาติ และจิรวัสส์ เจียตระกูล
การแปรรูปถั่วเขียวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ส่วนใหญ่ขั้นตอนแรก คือ การกะเทาะเปลือก เพื่อแยกเอาเปลือกออก เนื่องจากเปลือกมีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้าน สี กลิ่น และอาจรวมถึงรสชาติ และเปลือกถั่วเขียวเป็นสาเหตุที่ทาให้โปรตีนถั่วเขียวมีคุณภาพไม่ดีในด้านสี และกลิ่น
การกะเทาะเปลือกออก เป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและแรงงานอย่างมาก การวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงานและเวลาในการล้างเปลือกถั่วเขียวผ่าซีก ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ส่วนชุดขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกแช่น้ำ ใช้วิธีการขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกในเสื้อทรงกระบอก โดยใช้ต้นกาลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ½ แรงม้า และส่วนของชุดลอยแยกเปลือก ซึ่งพบว่าการลอยแยกเปลือก แบบสวนทิศทางกระแสน้าให้ผลการทดสอบที่ดี จากการทดสอบเครื่องต้นแบบ พบว่ามีความสามารถในการทางาน 30 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยถั่วเขียวที่ได้มีการแตกหักเพิ่ม 2.11 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเร็วรอบในการขัด 500 รอบต่อนาที มีเปลือกเจือปนในถุงเก็บเนื้อถั่วเขียว 1.33 เปอร์เซ็นต์
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ และวิบูลย์ เทเพนทร์
การพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแปรรูปเม็ดบัวแห้ง ประกอบไปด้วย 3 เครื่องต้นแบบ ได้แก่ เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้ง เครื่องแทงดีเม็ดบัวแห้ง และเครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้ง เม็ดบัวแห้งที่นำมาทาการทดสอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 11.69 มิลลิเมตร ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบเครื่องต้นแบบทั้ง 3 เครื่อง เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้งต้นแบบ ใช้ลูกกลิ้งขึ้นลายแบบเกลียวสำหรับปอกเปลือกจานวน 2 ลูก และมีลูกกลิ้งขนาดเล็กสำหรับกดเม็ดบัวอีก 1 ลูก เม็ดบัวแห้งเคลื่อนที่เข้าหาชุดลูกกลิ้งด้วยเกลียวลาเลียง สามารถกะเทาะเปลือกได้เม็ดบัวที่สมบูรณ์เฉลี่ย 78.2 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหายเฉลี่ย 12.6 เปอร์เซ็นต์ และเม็ดบัวที่ไม่ถูกกะเทาะเฉลี่ย 9.2 เปอร์เซ็นต์ เครื่องแทงดีบัวแห้ง มีหลักการทางานด้วยการเจาะรูที่บริเวณขั้วของเม็ดบัวแห้งด้วยดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร เม็ดบัวแห้งหลังผ่านการกเทาะเปลือกถูกบรรจุลงในถาดเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 95 มิลิเมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ความเร็ว 6.5 รอบต่อนาที (1.94 เมตรต่อนาที) มีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.04 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เม็ดบัวที่ผ่านการเจาะโดยสมบูรณ์เฉลี่ย 69.5 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหาย และเจาะไม่ตรงตาแหน่งรวมกัน 30.5 เปอร์เซ็นต์ เครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้งที่ผ่านการกะเทาะเปลือกและแทงดีบัวออกแล้วมีส่วนประกอบของถังบรรจุเม็ดบัวที่ติดกระดาษทรายไว้บริเวณผนัง และมีชุดจานหมุนบริเวณด้านล่างทำหน้าที่หมุนให้เม็ดบัวเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการของแรงเสียดทานระหว่างเม็ดบัว และผนังทำให้เกิดการขัดผิวของเม็ดบัว เลือกใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ใช้เวลาในการขัดเฉลี่ย 35 นาที ส่วนที่ถูกขัดออกไปคิดเป็นสัดส่วนน้าหนักเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ, วิบูลย์ เทเพนทร์, สมเดช ไทยแท้, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์ และอัคคพล เสนำณรงค์
วิจัยและพัฒนาเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลม
มานพ รักญาติ, ปรีชา อานันทืรัตนกุล, จิรวัสส์ เจียตระกูล, วิบูลย์ เทเพนทร์ และสุเมธ กาศสกุล
กระบวนการผลิตแป้งจากเมล็ดธัญพืช ได้แก่ แป้งถั่วเขียวและแป้งบัวหลวง ก่อนนำไปผลิตเป็นอาหารหรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องมีการคัดขนาดเพื่อให้ได้เม็ดแป้งละเอียดตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์แป้งธัญพืช การวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมแบบไซโคลนสำหรับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ให้สามารถผลิตแป้งที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด
เครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ชุดคัดแป้ง ชุดพัดลม ไซโคลนดักเก็บแป้งละเอียด ถาดรองรับแป้งหยาบ และชุดควบคุมความเร็วรอบของพัดลม ผลการทดสอบที่ความเร็วลม 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 เมตร/วินาที ในการคัดขนาดแป้งถั่วเขียว และแป้งบัวหลวง ที่ความสามารถในการทำงานเครื่อง 150 กิโลกรัม/ชั่วโมง พบว่าความเร็วลม 2.5 เมตร/วินาที ให้ผลการทดสอบดีที่สุด ผลการคัดขนาดแป้งถั่วเขียว ที่ความชื้น 9% เครื่องมีประสิทธิภาพการคัดเฉลี่ย 84.04% สูญเสียออกช่องระบายลมสะอาด 0.94% สุ่มก่อนคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 11.30% หลังคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 1.30% และการคัดขนาดแป้งบัวหลวงที่ความชื้น 8.5% เครื่องมีประสิทธิภาพการคัดเฉลี่ย 83.94% สูญเสียออกช่องระบายลมสะอาด 1.03% สุ่มก่อนคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 13.32% หลังคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 1.31% ซึ่งการปนของแป้งหยาบ (ขนาดมากกว่า 180 ไมครอน) ในแป้งละเอียดที่คัดได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ มอก. แป้งธัญพืช คือ ไม่เกิน 2.5 % (สัดส่วนโดยน้ำหนัก)
วิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำ
ปรีชา อานันท์รัตนกุล, วิบูลย์ เทเพนทร์, มานพ รักญาติ และจิรวัสส์ เจียตระกูล
การแปรรูปถั่วเขียวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ส่วนใหญ่ขั้นตอนแรก คือ การกะเทาะเปลือก เพื่อแยกเอาเปลือกออก เนื่องจากเปลือกมีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้าน สี กลิ่น และอาจรวมถึงรสชาติ และเปลือกถั่วเขียวเป็นสาเหตุที่ทาให้โปรตีนถั่วเขียวมีคุณภาพไม่ดีในด้านสี และกลิ่น
การกะเทาะเปลือกออก เป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและแรงงานอย่างมาก การวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงานและเวลาในการล้างเปลือกถั่วเขียวผ่าซีก ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ส่วนชุดขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกแช่น้ำ ใช้วิธีการขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกในเสื้อทรงกระบอก โดยใช้ต้นกาลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ½ แรงม้า และส่วนของชุดลอยแยกเปลือก ซึ่งพบว่าการลอยแยกเปลือก แบบสวนทิศทางกระแสน้าให้ผลการทดสอบที่ดี จากการทดสอบเครื่องต้นแบบ พบว่ามีความสามารถในการทางาน 30 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยถั่วเขียวที่ได้มีการแตกหักเพิ่ม 2.11 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเร็วรอบในการขัด 500 รอบต่อนาที มีเปลือกเจือปนในถุงเก็บเนื้อถั่วเขียว 1.33 เปอร์เซ็นต์
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ และวิบูลย์ เทเพนทร์
การพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแปรรูปเม็ดบัวแห้ง ประกอบไปด้วย 3 เครื่องต้นแบบ ได้แก่ เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้ง เครื่องแทงดีเม็ดบัวแห้ง และเครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้ง เม็ดบัวแห้งที่นำมาทาการทดสอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 11.69 มิลลิเมตร ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบเครื่องต้นแบบทั้ง 3 เครื่อง เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้งต้นแบบ ใช้ลูกกลิ้งขึ้นลายแบบเกลียวสำหรับปอกเปลือกจานวน 2 ลูก และมีลูกกลิ้งขนาดเล็กสำหรับกดเม็ดบัวอีก 1 ลูก เม็ดบัวแห้งเคลื่อนที่เข้าหาชุดลูกกลิ้งด้วยเกลียวลาเลียง สามารถกะเทาะเปลือกได้เม็ดบัวที่สมบูรณ์เฉลี่ย 78.2 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหายเฉลี่ย 12.6 เปอร์เซ็นต์ และเม็ดบัวที่ไม่ถูกกะเทาะเฉลี่ย 9.2 เปอร์เซ็นต์ เครื่องแทงดีบัวแห้ง มีหลักการทางานด้วยการเจาะรูที่บริเวณขั้วของเม็ดบัวแห้งด้วยดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร เม็ดบัวแห้งหลังผ่านการกเทาะเปลือกถูกบรรจุลงในถาดเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 95 มิลิเมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ความเร็ว 6.5 รอบต่อนาที (1.94 เมตรต่อนาที) มีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.04 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เม็ดบัวที่ผ่านการเจาะโดยสมบูรณ์เฉลี่ย 69.5 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหาย และเจาะไม่ตรงตาแหน่งรวมกัน 30.5 เปอร์เซ็นต์ เครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้งที่ผ่านการกะเทาะเปลือกและแทงดีบัวออกแล้วมีส่วนประกอบของถังบรรจุเม็ดบัวที่ติดกระดาษทรายไว้บริเวณผนัง และมีชุดจานหมุนบริเวณด้านล่างทำหน้าที่หมุนให้เม็ดบัวเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการของแรงเสียดทานระหว่างเม็ดบัว และผนังทำให้เกิดการขัดผิวของเม็ดบัว เลือกใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ใช้เวลาในการขัดเฉลี่ย 35 นาที ส่วนที่ถูกขัดออกไปคิดเป็นสัดส่วนน้าหนักเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์