ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
#1
ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
บงการ พันธุ์เพ็ง, สุดธิดา บูชารัมย์, นิพนธ์ ภาชนะวรรณ และจีรัชญาพร รณเรืองฤทธิ์

          ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่อาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการระหว่างปี 2559 - 2561 ในพื้นที่อาศัยน้ำฝน จังหวัดสุรินทร์ พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง และระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าว ปี 2561 พบว่าถั่วลิสงฝักสด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 287 กก./ไร่ รายได้เฉลี่ย 7,180 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 3,840 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,340 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวโพดฝักสด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,743 ฝัก/ไร่ รายได้เฉลี่ย 11,509 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 6,774 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 4,735 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 6,774 บาท/ไร่ การดำเนินงาน จ.อุบลราชธานี ดำเนินงาน 3 ปี พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่เกษตรกรให้การยอมรับ ในปี 2561 พบว่าถั่วลิสงให้ผลผลิต 405 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,775บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 12,150 บาท/ไร่ ขณะที่ข้าวโพดให้ผลผลิต 947 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,562บาท/ไร่ สร้างรายได้เฉลี่ย 18,940 บาท /ไร่

          ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่เขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการระหว่างปี 2559 - 2561 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม พบว่าระบบข้าวนาปี – ฟักทอง ให้ผลตอบแทนทั้งระบบสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ระบบข้าวนาปี – ถั่วลิสง และระบบข้าวนาปี – ข้าวนาปรัง ให้ผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย เท่ากับ 12,325 9,779 และ6,072 บาท/ไร่ ตามลำดับ ระบบข้าวนาปี – ฟักทอง เป็นระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรพึงพอใจมากที่สุด การทดสอบพื้นที่ จ.สุรินทร์ พบว่าระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบที่เกษตรกรเลือกเนื่องจากเป็นระบบที่เข้ากับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมในสภาพพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด โดยในปี 2559 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 9,863 ฝัก/ไร่ มีรายได้สุทธิ 22,686 บาท/ไร่ ปี 2560 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,251 ฝักสด./ไร่ มีรายได้สุทธิ 9,966 บาท /ไร่ ปี 2561 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,336 ฝัก/ไร่ มีรายได้สุทธิ 8,136 บาท/ไร่ การทดสอบในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่เกษตรกรเลือก โดยปี 2559 60 และ 61 พบว่า ถั่วลิสงหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 462 812 และ 721 กิโลกรัม /ไร่ ต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 6,194 7,204 และ 6,725 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 13,863 24,373 และ 25,217 บาท/ไร่ กำไรสุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 7,669 17,169 และ 18,492 บาท/ไร่ การทดสอบในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เฉลี่ย 3 ปี พบว่า (ปี 2559 – 2561) ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิต 1,073 กก./ไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 2,508 บาท/ไร่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเฉลี่ย 21,460 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 18,952 บาท/ไร่ ขณะที่ถั่วลิสงหลังนาให้ผลผลิต 408 กก./ไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 2,766 บาท/ไร่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเฉลี่ย 11,560 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 8,794 บาท/ไร่ มากกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบที่เกษตรกรให้การยอมรับร้อยละ 50 เท่ากับระบบข้าว – ถั่วลิสง ทั้งนี้เพราะในเขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีปัจจัยในเรื่องของน้ำอย่างเพียงพอ หากเกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังนาและปฏิบัติดูแลดีเท่าที่ควรจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าการปลูกถั่วลิสงหลังนา แต่การปลูกถั่วลิสงหลังนาจะทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าหากขาดน้ำ

          ผลจากการดำเนินงานตามโครงการฯ ทำให้ได้ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ใช้น้ำฝน และในพื้นที่เขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 15 รวมทั้งได้เกษตรกรต้นแบบและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินงานคือ จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ และจ.อุบลราชธานี

ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ใช้น้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
บงการ พันธุ์เพ็ง และจีรัชญาพร รณเรืองฤทธิ์

          ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ใช้น้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการระหว่างปี 2559 - 2561 ในพื้นที่อาศัยน้ำฝน จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับการทดลองในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี คือ 1) ข้าว – ถั่วลิสง 2) ข้าว – ฟักทอง 3) ข้าว - มันเทศ ถั่วลิสงฝักสด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 135 กก./ไร่ ให้รายได้เฉลี่ย 4,050 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรสุทธิ 1,663 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,530 บาท/ไร่ ในขณะที่ฟักทองให้ผลผลิตเฉลี่ย 292 กก./ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 2,920 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรสุทธิ 824 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,096 บาท/ไร่ และมันเทศให้ผลผลิตเฉลี่ย 205 กก./ไร่ ปี 2560 ประชุมวางแผนร่วมกับเกษตรปรับเปลี่ยนกรรมวิธีเป็น 1 ) ข้าว - ถั่วลิสง 2) ข้าว-ข้าวโพด 3) ข้าว-มันเทศ พบว่าถั่วลิสงฝักสดให้ผลผลิตเฉลี่ย 297 กก./ไร่ รายได้เฉลี่ย 8,916 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 6,374 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,542 บาท/ไร่ ขณะที่ข้าวโพดฝักสดให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,985 ฝัก/ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 7,463บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรสุทธิ 3,460 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 4,003 บาท/ไร่ และมันเทศให้ผลผลิตเฉลี่ย 178 กก./ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,151 บาท/ไร่ เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 1,783 บาท/ไร่ ขาดทุน 368 บาท/ไร่ ปี 2561 ประชุมวางแผนร่วมกับเกษตรปรับเปลี่ยนกรรมวิธีเป็น 1 ) ข้าว-ถั่วลิสง 2) ข้าว-ข้าวโพด พบว่าถั่วลิสงฝักสด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 287 กก./ไร่ รายได้เฉลี่ย 7,180 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 3,840 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,340 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวโพดฝักสด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,743 ฝัก/ไร่ รายได้เฉลี่ย 11,509 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 6,774 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 4,735 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 6,774 บาท/ไร่ จากการดำเนินงาน 3 ปี พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง และระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ได้เกษตรกรต้นแบบและเครือข่ายเกษตรกร

          การดำเนินงาน จ.อุบลราชธานี คัดเลือกได้พื้นที่ ต.เกษม อ.ตระการพืชผล ปี 2559 ทดสอบ 3 กรรมวิธี คือ 1.ข้าว – ถั่วลิสง 2.ข้าว – ฟักทอง 3.ข้าว – มันเทศ พบว่า ถั่วลิสงให้ผลผลิต 235 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,750 บาท/ไร่ สร้างรายได้เฉลี่ย 5,875 บาท/ไร่ ในขณะที่การปลูกฟักทองให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,566 กก./ไร่ มีต้นทุนเฉลี่ย 3,500 บาท/ไร่ สร้างรายได้เฉลี่ย 15,660 บาท/ไร่ สำหรับมันเทศประสบภาวะแล้ง และเกษตรกรขาดการดูแลเท่าที่ควรทำให้เสียหายไม่ได้ผลผลิต ในปี 2560 ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของเกษตรกรเป็น 3 กรรมวิธี คือ 1.ข้าว – ถั่วลิสง 2. ข้าว – ข้าวโพด 3. ข้าว – ถั่วเขียว พบว่า ถั่วลิสงให้ผลผลิต 330 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,775 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 9,900 บาท/ไร่ ขณะที่ข้าวโพดให้ผลผลิต 1,074 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,562 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 21,482 บาท/ไร่ สำหรับถั่วเขียวให้ผลผลิต 95 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 1,350 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 1,900 บาท/ไร่ ในปี 2561 ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีตามความต้องการของเกษตรกรเหลือ 2 กรรมวิธี คือ 1.ข้าว – ถั่วลิสง 2.ข้าว – ข้าวโพดฝักสด พบว่าถั่วลิสงให้ผลผลิต 405 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,775บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 12,150 บาท/ไร่ ขณะที่ข้าวโพดให้ผลผลิต 947 กก./ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,562 บาท/ไร่ สร้างรายได้เฉลี่ย 18,940 บาท /ไร่ ดำเนินงาน 3 ปี พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่เกษตรกรให้การยอมรับเพราะถั่วลิสงเป็นพืชที่ทนแล้ง และสามามารถขายผลผลิตถั่วลิสงได้ง่ายกว่าข้าวโพด ทำให้ได้เกษตรกรต้นแบบพร้อมเครือข่ายเกษตรกร

ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่เขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
บงการ พันธุ์เพ็ง, จีรัชญาพร รณเรืองฤทธิ์, สุทธิดา บูชารัมย์ และนิพนธ์ ภาชนวรรณ

          ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่เขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการระหว่างปี 2559 - 2561 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ และ จ.อุบลราชธานี การดำเนินงานในพื้นที่ จ.มหาสารคาม จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทั้งระบบ พบว่า ระบบข้าวนาปี – ฟักทอง ให้ผลตอบแทนทั้งระบบสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ระบบข้าวนาปี – ถั่วลิสง และระบบข้าวนาปี – ข้าวนาปรัง ให้ผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย เท่ากับ 12,325 9,779 และ6,072 บาท/ไร่ ตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน ( BCR ) พบว่าทุกระบบมีค่ามากกว่า 1 สามารถดำเนินการผลิตได้ แต่ระบบข้าวนาปี – ฟักทอง มีความเสี่ยงในการผลิตน้อยที่สุด ระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรพึงพอใจในเขตพื้นที่ชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดมหาสารคาม คือ ระบบข้าวนาปี – ฟักทอง ที่ระดับ พึงพอใจมาก ร้อยละ 90 ในขณะที่การทดสอบในพื้นที่ จ.สุรินทร์ มี 3 กรรมวิธี คือ ระบบข้าว - ข้าวโพด ระบบข้าว - ถั่วลิสง และ ข้าว - ข้าว พบว่าระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบที่เกษตรกรเลือกเนื่องจากเป็นระบบที่เข้ากับลักษณะ ทางเศรษฐกิจและสังคมในสภาพพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด โดยในปี 2559 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 9,863 ฝัก/ไร่ มีรายได้สุทธิ 22,686 บาท/ไร่ ปี 2560 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,251 ฝักสด./ไร่ มีรายได้สุทธิ 9,966 บาท /ไร่ ปี 2561 ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,336 ฝัก/ไร่ มีรายได้สุทธิ 8,136 บาท/ไร่ การทดสอบในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ มี 3 กรรมวิธี คือ ระบบข้าว - ข้าวโพด ระบบข้าว - ถั่วลิสง และ ข้าวนาปี พบว่าระบบข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่เกษตรกรเลือก โดยปี 2559 60 และ 61 พบว่า ถั่วลิสงหลังนาให้ผลผลิตเฉลี่ย 462 812และ 721 กิโลกรัม /ไร่ ต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 6,194 7,204 และ 6,725 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 13,863 24,373 และ 25,217 บาท/ไร่ กำไรสุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 7,669 17,169 และ 18,492 บาท/ไร่ การทดสอบในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี 3 กรรมวิธี คือ 1. ข้าว – ข้าวโพด 2. ข้าว – ถั่วลิสง 3. ข้าว พบว่า เฉลี่ย 3 ปี (ปี 2559 – 2561) ข้าวโพดหลังนาให้ผลผลิต 1,073 กก./ไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 2,508 บาท/ไร่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเฉลี่ย 21,460 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรเฉลี่ยเท่ากับ18,952 บาท/ไร่ ขณะที่ถั่วลิสงหลังนาให้ผลผลิต 408 กก./ไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 2,766 บาท/ไร่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเฉลี่ย 11,560 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 8,794 บาท/ไร่ มากกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว จากการทดลองพบว่า ระบบข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบที่เกษตรกรให้การยอมรับเทคโนโลยีในระดับมากร้อยละ 50 เท่ากับระบบข้าว – ถั่วลิสง ทั้งนี้เพราะในเขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีปัจจัยในเรื่องของน้ำอย่างเพียงพอ หากเกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังนาและปฏิบัติดูแลดีเท่าที่ควรจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าการปลูกถั่วลิสงหลังนา แต่การปลูกถั่วลิสงหลังนาจะทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าหากขาดน้ำ

          ผลจากการดำเนินงานตามโครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่เขตชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้ได้ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 15 รวมทั้งได้เกษตรกรต้นแบบและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินงานคือ จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ และจ.อุบลราชธานี


ไฟล์แนบ
.pdf   19_2561.pdf (ขนาด: 667.24 KB / ดาวน์โหลด: 482)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม