ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันก้าจัดโรคราน้ำค้างในคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Peronospora paras
#1
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันก้าจัดโรคราน้ำค้างในคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Peronospora parasitica
บุษราคัม อุดมศักดิ์, พีระวรรณ พัฒโนภาส และสุรีย์พร บัวอาจ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคราน้ำค้างผักคะน้า สาเหตุจากเชื้อรา Peronospora parasitica Pers. ex Fr. เป็นโรคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไทย พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช แต่จะรุนแรงในระยะต้นอ่อนมากกว่าระยะต้นโต โดยพบได้ในทุกแหล่งปลูกคะน้า ในสภาพที่อากาศเย็น ความชื้นสูงโรคจะระบาดรุนแรง การพ่นด้วยสารเคมีซ้ำและอัตราเดิม อาจทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซนต์ เนื่องจากปัญหาการดื้อยาของเชื้อรา จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฯ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ captan 50 % WP mancozeb 80% WP chlorothalonil 75% WP copper hydroxide 77% WP benomyl 50% WP tridemorph 75% EC folpet 50% WP propamocarb hydrochloride 72.2% SL และ mancozeb + metalaxyl 68% WG ที่ อ. ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนเมษายน 2560 โดยวิธีพ่นทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ บันทึกผลการทดลองโดยประเมินเป็นเปอร์เซนต์ของความรุนแรงของโรค นำมาคิดเป็นระดับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ 0 ถึง 6 ผลการทดลองเมื่อพ่นสารฯ ครบ 3 ครั้ง พบว่ากรรมวิธีที่พ่นด้วยสารฯ mancozeb + metalaxyl 68% WG อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมโรคราน้ำค้างได้สูงสุด โดยมีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ 1.86 รองลงมา ได้แก่ กรรมวิธีที่พ่นด้วยสารฯ mancozeb 80% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ทั้งนี้ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารฯ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยน้ำเปล่า ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ3.82 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลอง เป็นข้อมูลใน 1 ฤดูปลูก จึงได้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ดังนั้นจึงต้องรอผลการทดลองในฤดูที่ 2 ซึ่งจะทำการทดลองในปี 2561 เพื่อเป็นการยืนยันผลการทดลองอีกครั้ง จึงจะสามารถสรุปผลการทดลองได้ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   213_2560.pdf (ขนาด: 187.28 KB / ดาวน์โหลด: 958)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม