02-01-2017, 01:41 PM
วิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร
วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง, พินิจ จิรัคคกุล, ธนกฤต โยธาทูล และขนิษฐ์ หว่านณรงค์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง, พินิจ จิรัคคกุล, ธนกฤต โยธาทูล และขนิษฐ์ หว่านณรงค์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกรเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ใช้หน่อสับปะรดที่ตัดยอดแล้ว ปลูกแถวคู่ห่างกัน 50 เซนติเมตร อุปกรณ์ป้อนลำเลียงโดยท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว โดยใช้ล้อขับเคลื่อนส่งกำลังผ่านชุดเฟืองขับอุปกรณ์ป้อน ตัวเปิดร่องปลูกเป็นแบบขาไถ ป้อนส่งหน่อสับปะรดผ่านท่อพีวีซีหลังตัวเปิดร่อง และกลบดินและหน่อโดยอุปกรณ์กลบดิน ใช้คนป้อนหน่อจำนวน 2 คน ทดสอบและประเมินผลการทำงานของเครื่องต้นแบบ ผลการทดลองพบว่า เครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก (36 - 47 แรงม้า) ปลูกแบบแถวคู่ โดยใช้หน่อที่ตัดแต่งยอดให้สม่ำเสมอให้มีความยาว 30 - 50 เซนติเมตร และมีการคัดน้ำหนักหน่อขนาดที่ใกล้เคียงกันโดยการชั่งน้ำหนัก คัดเอาเฉพาะหน่อที่มีขนาดน้ำหนักในช่วง 300 - 500 กรัม บรรจุหน่อได้ข้างละประมาณ 200 หน่อ ความสามารถในการทำงานโดยสรุป เครื่องปลูกต้นแบบมีประสิทธิภาพการทำงาน การปักหน่อ 97.50% หน่อมีความเอียง 69.10 องศาจากแนวระนาบ ความลึกการปลูก 15.50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 50.26 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวเฉลี่ย 110 เซนติเมตร ที่ความเร็วขับเคลื่อน 0.62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความสามารถในการทำงาน 0.52 ไร่ต่อชั่วโมง