11-17-2016, 03:56 PM
วิจัยและพัฒนาสบู่ดำ
อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, อุดมวิทย์ ไวทยการ, สมศักดิ์ อิทธิพงษ์, ยุทธจักร วงษ์วัฒนะ, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, พิมพ์นภา ขุนพิลึก, กิติพร เจริญสุข, เสาวรี บำรุง, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, นันทวัน มีศรี และสุรีรัตน์ ทองคำ
อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, อุดมวิทย์ ไวทยการ, สมศักดิ์ อิทธิพงษ์, ยุทธจักร วงษ์วัฒนะ, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, พิมพ์นภา ขุนพิลึก, กิติพร เจริญสุข, เสาวรี บำรุง, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, นันทวัน มีศรี และสุรีรัตน์ ทองคำ
การรวบรวมพันธุ์สบู่ดำเพื่อให้ได้สายพันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตสูง และมีปริมาณสารพิษ phorbol esters น้อย ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2558 ผลการทดลองพบว่า ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา รวบรวมพันธุ์สบู่ดำ ได้จำนวน 44 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ. เชียงใหม่ 19 สายพันธุ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา 20 สายพันธุ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี 5 สายพันธุ์ สบู่ดำทั้ง 44 สายพันธุ์ มีลักษณะสัณฐานวิทยาคลำยคลึงกัน ได้แก่ สีลำต้นสีใบ รูปร่างใบ สีก้านใบ สีผล สีเมล็ด และรูปร่างเมล็ด ส่วนรูปร่างผลในสายพันธุ์ K 1, K 4 และ K 5 เป็นรูปไข่กลับ ต่างจากสายพันธุ์อื่นที่รูปร่างค่อนข้างกลม สบู่ดำสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรวม 4 ปี สูงที่สุด คือ สายพันธุ์ ลาว ให้ผลผลิต 663.68 กก./ไร่ มีน้ำหนัก 100 เมล็ด 65.66 กรัม รองลงมา คือ สายพันธุ์อินเดีย ดอยสะเก็ด 1 C 1 และ Check 1 ให้ผลผลิต 575.34 533.73 519.26 และ 518.30 กก./ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนัก 100 เมล็ด 67.34 64.07 62.47 และ 56.16 กรัม ตามลำดับ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ดำเนินการในปี 2554 - 2556 โดยคัดเลือกพันธุ์สบู่ดำที่มีปริมาณสารพิษ phorbol esters น้อย ที่นำเข้าจากประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีปริมาณสารพิษ phorbol esters ระหว่าง 0.02 - 0.08 มก./ก. ได้จำนวน 44 สายพันธุ์ สบู่ดำสายพันธุ์ที่มีปริมาณสารพิษ phorbol esters น้อย และให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูง มี 7 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ W 5 มีปริมาณสารพิษ phorbol esters 0.01 mg/g ให้ผลผลิตรวม 2 ปี 168.50 กก./ไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ J 14, H 10, J 15, J 18, J 45 และ J 17 มีปริมาณสารพิษ phorbol esters 0.01, 0.02, 0.03, 0.05, 0.05 และ 0.05 mg/g ตามลำดับ ให้ผลผลิตรวม 2 ปี 128.34 163.31 128.74 148.56 148.35 และ 121.47 กก./ไร่ ตามลำดับ ส่วนการปรียบเทียบพันธุ์สบู่ดำ เพื่อให้ได้สายพันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตสูง ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2558 พบว่า สบู่ดำสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น คือ สายพันธุ์ 18/36 ให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูงสุด 55.7 กก./ไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ GB 07-4 และ B 34 ให้ผลผลิต 55.3 และ 53.2 กก./ไร่ ตามลำดับ สบู่ดำสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง คือ สายพันธุ์ D 1 ให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูงสุด 47.1 กก./ไร่ รองลงมา คือ พันธุ์พื้นเมือง และสายพันธุ์ A 34 ให้ผลผลิต 45.2 และ 41.9 กก./ไร่ ตามลำดับ สบู่ดำสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี สบู่ดำสายพันธุ์ที่ คือ สายพันธุ์ 18/36 ให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูงสุด 150 กก./ไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ B 34 และพื้นเมือง ให้ผลผลิต 138.7 และ 130.3 กก./ไร่ ตามลำดับ สบู่ดำสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ คือ สายพันธุ์ D 1 ให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูงสุด 30.4 กก./ไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ B 04-03 และ B 34 ให้ผลผลิต 28 และ 23.2 กก./ไร่ ตามลำดับ สบู่ดำสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร คือ สายพันธุ์ ให้ผลผลิตรวม 2 ปี สูงสุด พื้นเมือง 33.4 กก./ไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ A 34 และ B 04-03 ให้ผลผลิต 29.6 และ 25 กก./ไร่ ตามลำดับ