โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที
#1
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่
ญาณิน สุปะมา, สุเมธ อ่องเภา, สากล มีสุข, กัลยา เกาะกากลาง, อดุลย์ ขัดสีใส, เดชา ยอดอุทา, ประภัสสร กาวิลตา, สุเทพ กาวิลตา, สุนันท์ อารีรักษ์, รณรงค์ คนชม, มณทิรา ภูติวรนาถ, ทวีพงษ์ ณ น่าน, ตราครุฑ ศิลาสุวรรณ, ทรงศิลป์ บุญทองโท, มนต์ชัย พันธุ์แก้ว, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, มณเทียน แสนดะหมื่น, วสันต์ วรรณจักร, สุภาพ ชูพันธุ์, สุพัตรา ชาวกงจักร, แคทลิยา เอกอุ่น, อุบล หินเธาว์, ศศิธร ประพรม, ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, สุทธินันท์ ประสาธน์สุวรรณ์, อมฤต วงษ์ศิริ, ศฬิษา สังข์วิเศษ, ศิริวรรณ อ าพันฉาย, สรรเสริญ เสียงไส, พิกุล ซุนพุ่ม, ประหยัด ยุพิน, กัญญารัตน์ ไกรสีห์, อุบล หินเธาว์, สุนทรี มีเพ็ชร์, สวัสดิ์ สมสะอาด, สุทธิดา บูชารัมย์, เฉลิมพล ขาวช่วง, วรยุทธ ศิริชุมพันธุ์, วรีรัตน์ วรกาญจนบุญ, บุญชู สายธนู, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, ประดับศรี เงินมั่น, กิตติทัต แสนปลื้ม, มติกา ทองรส, สุชาติ แก้วกมลจิต, มยุรี ลึกลาภ, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, นาฎญา โสภา, สุชาติ ค าอ่อน, ศรีนวล สุราษฎร์, พีชณิตดา ธารานุกูล, ยุวลักษณ์ ผายดี, ชูศักดิ์ แขพิมาย, จิระ อะสุรินทร์, นิพนธ์ ภาชนะวรรณ, มะลิวรรณ์ ทบภักดิ์, อนุชา เหลาเคน, จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง, ไพรินทร์ ผลตระกูล, วสันต์ พุทธใจกา, สมพงษ์ ค ามุงคุณ, ธนากร ขามฤทธิ์, พิศสุดา ทีฆะพันธุ์, นิรมล ด าพะธิก, สมคิด จังอินทร์, สุชาติ คำอ่อน,  นงลักษ์ ปั้นลาย, วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ, บรรเจิด พูลศิลป์, วันเพ็ญ พฤกษ์วิวัฒน์, วรรณภา อุปถัมภ์, รัตนพร ทิพปันนา,  นฤพงศ์ ยิ่งวุฒิวรกุล, ฉันทนา คงนคร, จิระ สุวรรณประเสริฐ, ศริณนา ชูธรรมธัช และสะฝีหย๊ะ ราชนุช
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์, การยางแห่งประเทศไทย, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง, สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา, ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8

          การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการผลิต และเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่ ดำเนินการปี 2554 - 2558 จำนวน 22 จังหวัด เกษตรกรร่วมทดสอบ จังหวัดละ 5 - 10 ราย โดยทดสอบเปรียบเทียบวิธีเดิมของเกษตรกรกับวิธีทดสอบ ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ทดสอบในพันธุ์เดียวกัน แต่ต่างกรรมวิธี ใน 17 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ น่าน กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุดรธานี ขอนแก่น มุกดาหาร ศรีษะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา อำนาจเจริญ มหาสารคาม สระบุรี และลพบุรี กลุ่มที่ 2 ทดสอบต่างกันทั้งพันธุ์และกรรมวิธี ใน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ บุรีรัมย์ มหาสารคาม พังงา พัทลุง และสงขลา กลุ่มที่ 3 ทดสอบต่างพันธุ์ แต่กรรมวิธีเหมือนกัน ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ อุดรธานี ขอนแก่น มุกดาหาร บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ผลการทดสอบสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผลการทดสอบสามารถยกระดับผลผลิต ทำให้มีผลตอบแทน รวมทั้ง สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) สูงกว่าวิธีเกษตรกรอย่างชัดเจน ใน 16 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิมุกดาหาร ศรีษะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สระบุรี ลพบุรี พังงา พัทลุง และสงขลา ผลผลิตเฉลี่ยวิธีทดสอบสูงกว่าวิธีเกษตรกร 4 - 371 กิโลกรัมต่อไร่ โดยยกระดับผลผลิตได้ร้อยละ 7 - 58 และผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 75 มีค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกรอย่างชัดเจน กลุ่มที่ 2 ผลการทดสอบในบางปี ผลผลิตเฉลี่ย ผลตอบแทน และค่า BCR ต่ำกว่าวิธีของเกษตรกร ใน 5 จังหวัด ได้แก่ แพร่ กาฬสินธุ์ อุดรธานี อำนาจเจริญ และมหาสารคาม โดยผลผลิตเฉลี่ยวิธีเกษตรกรสูงกว่าวิธีทดสอบ 7 - 353 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 7 - 58 และผลตอบแทนเฉลี่ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 15 - 20 ค่า BCR มีแนวโน้มใกล้เคียงและต่ำกว่าวิธีของเกษตรกร ผลการทดสอบทำให้มีเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 22 ราย และมีการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เหมาะสมในพื้นที่ไปยังเกษตรกร 200 ราย


ไฟล์แนบ
.pdf   64_2558.pdf (ขนาด: 797.46 KB / ดาวน์โหลด: 1,716)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม