ศึกษาประสิทธิภาพของหัวฉีดชนิดต่างๆประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม
#1
ศึกษาประสิทธิภาพของหัวฉีดชนิดต่างๆประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟศัตรูพริก
วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ทำการศึกษาประสิทธิภาพของหัวฉีดชนิดใช้แรงลม ประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำ (กรรมวิธีของเกษตรกรในพื้นที่) โดยทำการทดลอง 3 การทดลอง ในการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในแปลงพริกของเกษตรกรอำเภอท่ามะกา และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี การทดลองที่ 1 ทำการทดลองศึกษาประสิทธิภาพของหัวฉีดชนิดใช้แรงลม 3 ชนิด ประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม โดยการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในพริก ที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2554 บนพื้นที่แปลงย่อยขนาด 13.7 x 2.4 เมตร จำนวน 5 ร่อง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ดังนี 1. พ่นสารแบบน้ำมากด้วยหัวฉีดฝักบัว อัตราพ่น 60, 70 และ 80 ลิตร/ไร่ 2. พ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยหัวฉีด wizza อัตราพ่น 10, 15 และ 20 ลิตร/ไร่ 3. พ่นสารแบบน้ำน้อยมากด้วยหัวฉีด Micron X-1 อัตราพ่น 3, 6 และ 9 ลิตร/ไร่ ที่อายุพริก ประมาณ 50, 65 และ 80 วันตามลำดับ และ 4. กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทุกกรรมวิธีพ่นสาร emamectin benzoate 1.92%EC ควบคุมเพลี้ยไฟพริก อัตรา 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้อัตราสารออกฤทธิ์เท่ากัน โดยใช้อัตราสารเท่ากับการพ่นสารแบบน้ำมาก พ่นสารทุก 7 วัน จำนวน 6 ครั้ง ทำการตรวจนับเพลี้ยไฟพริกและไรขาวพริกจำนวน 30 ยอดต่อแปลงย่อย ก่อนพ่นสารทุกครั้ง ผลการทดลองพบว่า การพ่นสารแบบน้ำน้อยมาก ด้วยหัวฉีด Micron X-1 สามารถควบคุมเพลี้ยไฟพริกได้ดีโดยมีปริมาณเพลี้ยไฟน้อยที่สุดแต่ไม่แตกต่างทางสถิติจากการพ่นแบบน้ำน้อยและน้ำมาก ด้วยหัวฉีด Wizza และฝักบัว ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารปริมาณเพลี้ยไฟพริกน้อยกว่า และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การทดลองที่ 2 ทำการศึกษาประสิทธิภาพของหัวฉีดชนิดใช้แรงลม 2 ชนิด ประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำ (กรรมวิธีของเกษตรกรในพื้นที่) โดยการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในพริกที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่ามะกำ จังหวัดกำญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2555 บนพื้นที่แปลงย่อยขนาด 2.4 x 13.7 เมตร จำนวน 5 ร่อง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ดังนี 1. พ่นสำรแบบน้ำมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำ อัตราพ่น 60, 70 และ 80 ลิตร/ไร่ 2. พ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยหัวฉีด wizza อัตราพ่น 10, 15 และ 20 ลิตร/ไร่ 3. พ่นสารแบบน้ำน้อยมากด้วยหัวฉีด Micron X-1 อัตราพ่น 3, 6 และ 9 ลิตร/ไร่ ที่อายุพริกประมาณ 55, 70 และ 85 วัน ตามลำดับ และ 4. กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทุกกรรมวิธีพ่นสาร emamectin benzoate 1.92%EC ควบคุมเพลี้ยไฟพริก อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราสารเท่ากับการพ่นสารแบบน้ำมาก พ่นสารทุก 7 วัน จำนวน 6 ครั้ง ทำการตรวจนับเพลี้ยไฟพริก 25 ยอด/แปลงย่อย ก่อนพ่นสารทุกครั้ง ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารปริมาณเพลี้ยไฟพริกน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีที่พ่นสารพบว่า ทุกกรรมวิธีมีปริมาณเพลี้ยไฟพริกไม่แตกต่างกันทางสถิติ การทดลองที่ 3 ทำการทดลองศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ด้วยหัวฉีด Micron X-1 ประกอบเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม โดยการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในพริกที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556 บนพื้นที่แปลงย่อยขนาด 13.7 x 2.4 เมตร จำนวน 4 ร่อง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ดังนี 1. พ่นสาร emamectin benzoate 1.92%EC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร 2. พ่นสาร imidacloprid 70%WG อัตรา 10 กรัม./น้ำ 20 ลิตร 3. พ่นสาร spinetoram 12%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร 4. พ่นสาร emamectin benzoate 1.92%EC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร 5. กรรมวิธีไม่พ่นสาร โดยใช้อัตราสารออกฤทธิ์เท่ากับการพ่นสารแบบน้ำมาก พ่นสารทุก 7 วัน จำนวน 6 ครั้ง ทำการตรวจนับเพลี้ยไฟพริกจำนวน 20 ยอดต่อแปลงย่อย ก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีปริมาณเพลี้ยไฟพริกน้อยกว่า และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีที่พ่นสารพบว่า การพ่นสาร spinetoram 12%SC สามารถควบคุมเพลี้ยไฟพริกได้ดีโดยมีปริมาณเพลี้ยไฟน้อยที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสารด้วย emamectin benzoate 1.92%EC และ imidacloprid 70%WG ทั้งนี้ตลอดการทดลองไม่พบอาการเป็นพิษ (phytotoxicity) ของสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในพริกทั้ง 3 ชนิดกับต้นพริกที่ใช้ในการทดลอง


ไฟล์แนบ
.pdf   270_2556.pdf (ขนาด: 653.68 KB / ดาวน์โหลด: 464)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม