ทดสอบสายพันธุ์เห็ดตีนแรดที่ผลิตสารโพลีแซคคารายด์ที่เป็นประโยชน์
#1
ทดสอบสายพันธุ์เห็ดตีนแรดที่ผลิตสารโพลีแซคคารายด์ที่เป็นประโยชน์
อัจฉรา พยัพพานนท์ และจิรเวท เจตน์จันทร์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และภาควิชาอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          เห็ดที่รับประทานได้มักมีคุณค่าทางโภชนาการ ในการเป็นอาหารเป็นอาหารเสริมและมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดพื้นเมืองที่กำลังส่งเสริมให้เป็นเห็ดเศรษฐกิจ และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น จึงได้ศึกษาชนิดของน้ำตาลในดอกเห็ด โดยการสกัดโพลีเซคคารายด์จากดอกเห็ดตีนแรด ซึ่งเพาะจากเชื้อพันธุ์เห็ดตีนแรดกรมวิชาการเกษตร สายพันธุ์ DOA-1, DOA-3, DOA-4, DOA-5, DOA-7, DOA-8 และ DOA-10 สกัดด้วยน้ำร้อนผสมเอทิลแอลกอฮอล์ ที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส และจำแนกชนิดของน้ำตาลด้วยเครื่อง High performance liquid chromatography (HPLC) ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และภาควิชาอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ระยะเวลาตุลาคม 2550 - กันยายน 2552

          ผลการสกัดและจำแนกโพลีเซคคารายด์ของดอกเห็ดตีนแรด 7 สายพันธุ์ จากดอกเห็ดสดได้น้ำตาลหลักเป็นทรีฮาโรสในปริมาณ 64 - 350 มิลลิกรัม/10กรัมเห็ดสด แมนโนส 165 - 370 มิลลิกรัม/10กรัมเห็ดสด และจากดอกเห็ดแห้งได้น้ำตาลทรีฮาโรส 64 - 158 มิลลิกรัม/กรัมเห็ดแห้ง กลูโกส 4 - 35 มิลลิกรัม/กรัมเห็ดแห้ง ไซโลส 5 - 22.4 มิลลิกรัม/กรัมเห็ดแห้ง จากสายพันธุ์ DOA-3, DOA-5, DOA-7 และกาแลคโตส 8.50 มิลลิกรัม/กรัมเห็ดแห้ง จากสายพันธุ์ DOA-10


ไฟล์แนบ
.pdf   1295_2552.pdf (ขนาด: 172.7 KB / ดาวน์โหลด: 719)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม