08-08-2016, 04:37 PM
ทดสอบสายพันธุ์เห็ดตีนแรดเพื่อใช้เป็นพันธุ์การค้า
อัจฉรา พยัพพานนท์, ปิยะรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, นันทินี ศรีจุมปา และสุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1 และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผลการวิเคราะห์ค่ากรดอมิโนทั้ง 17 ชนิดจากดอกเห็ดแห้ง สายพันธุ์ DOA-1 พบว่ากรดอมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) เช่น ลิวซีน ไลซีน ฟีนีลอลานีน ทรีโอนีน และไอโซลิวซีน มีอยู่ 0.39, 0.33, 0.29, 0.26 และ 0.23 %
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเห็ดตีนแรดสายพันธุ์ DOA-3 ที่มีต่อการเจริญของกลุ่มโพร์ไบโอติกส์แบคทีเรีย (probiotic bacteria) จำนวน 12 ชนิด พบว่า สามารถส่งเสริมการเจริญของโพร์ไบโอติกส์ แบคทีเรียทั้ง 12 ชนิด
ผลการทดสอบส่วนน้ำใสเลี้ยงเส้นใย เห็ดตีนแรด10สายพันธุ์ ทดสอบปฏิกิริยาการเจริญของแบคทีเรียโรคพืชพบว่าสายพันธุ์ DOA-1 และ สายพันธุ์ DOA-7 สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Acidovorax avenae sub sp. cattleyae , Xanthomonas campestris pv. campestris, X. axonopodis pv. dieffenbachiae, Erwinia chrysanthemi และ Burkholderia gladioli ในระดับห้องปฏิบัติการ
อัจฉรา พยัพพานนท์, ปิยะรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, นันทินี ศรีจุมปา และสุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1 และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดพื้นเมืองที่รวบรวมได้ไว้มากกว่า 15 สายพันธุ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2551 และได้ทดสอบประสิทธิภาพการผลิตจำนวน 10 สายพันธุ์ไว้ระดับหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2549 - 2550 เพื่อให้ได้สายพันธุ์การค้าที่ให้ผลผลิตสูงจึงได้ศึกษาต่อเนื่อง และเพิ่มเติมการใช้ประโยชน์โดยดำเนินการที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม. และที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร ระยะเวลาระหว่างตุลาคม 2550 - กันยายน 2552
ผลการทดสอบเพาะเห็ดตีนแรด 10 สายพันธุ์ พบว่า สายพันธุ์ DOA-1, DOA-3, DOA-4, DOA-5, DOA-7และ DOA-10 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงอย่างมีนัยสำคัญมีค่าประสิทธิภาพการผลิต อยู่ระหว่าง 21 - 83.84% (Biological Efficiency = น้ำหนักดอกเห็ดสด x 100 / น.น.วัสดุแห้งเพาะ) โดย สายพันธุ์ DOA-1ให้ผลผลิตสูงช่วงอากาศเย็น (ต.ต.-ม.ค.) สายพันธุ์ DOA-3 และสายพันธุ์ DOA-10ให้ผลผลิตสูง ช่วงฤดูร้อน-ฝนให้ผลผลิตสูงช่วงฤดูร้อน-ฝน (มี.ค. - ก.ย.) สายพันธุ์ DOA-4ให้ผลผลิตสูงช่วงฤดูฝน (ก.ค. - ก.ย.) สายพันธุ์ DOA-5ให้ผลผลิตสูงช่วงฤดูฝน-หนาว (ส.ค. - ธ.ค.) สายพันธุ์ DOA-7 ให้ผลผลิตได้ดีตลอดทั้งปีทั้งที่สกลนครและกรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ค่าโภชนาการของดอกเห็ดสดสายพันธุ์ DOA-9 และสายพันธุ์ DOA-10 มีโปรตีนน้ำตาล คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และไดเอททารี ไฟเบอร์ มีอยู่ ประมาณ 2.77-2.95, 2.02-4.28, 9-9.19, 0.23-0-31 และ 2.09-2-34 กรัม/100กรัม ส่วนเหล็กและแคลเซี่ยม มีอยู่ 2.76-6.5 และ 4.427-6.158มิลลิกรัม/ กิโลกรัม โดยลำดับ นอกจากนั้นดอกเห็ดที่เก็บอยู่ที่ 22-24 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน มีค่าโภชนาการไม่ต่างจากที่เก็บวันแรกนอกจากมี น้ำตาลสูงเพิ่มขึ้น
ผลการวิเคราะห์ค่ากรดอมิโนทั้ง 17 ชนิดจากดอกเห็ดแห้ง สายพันธุ์ DOA-1 พบว่ากรดอมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) เช่น ลิวซีน ไลซีน ฟีนีลอลานีน ทรีโอนีน และไอโซลิวซีน มีอยู่ 0.39, 0.33, 0.29, 0.26 และ 0.23 %
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเห็ดตีนแรดสายพันธุ์ DOA-3 ที่มีต่อการเจริญของกลุ่มโพร์ไบโอติกส์แบคทีเรีย (probiotic bacteria) จำนวน 12 ชนิด พบว่า สามารถส่งเสริมการเจริญของโพร์ไบโอติกส์ แบคทีเรียทั้ง 12 ชนิด
ผลการทดสอบส่วนน้ำใสเลี้ยงเส้นใย เห็ดตีนแรด10สายพันธุ์ ทดสอบปฏิกิริยาการเจริญของแบคทีเรียโรคพืชพบว่าสายพันธุ์ DOA-1 และ สายพันธุ์ DOA-7 สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Acidovorax avenae sub sp. cattleyae , Xanthomonas campestris pv. campestris, X. axonopodis pv. dieffenbachiae, Erwinia chrysanthemi และ Burkholderia gladioli ในระดับห้องปฏิบัติการ