08-05-2016, 03:27 PM
การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี
วงศ์ บุญสืบสกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, บูรณี พั่ววงค์แพทย์, สุรีย์พร บัวอาจ, วิลาวัลย์ ใคร่ครวญ และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
วงศ์ บุญสืบสกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, บูรณี พั่ววงค์แพทย์, สุรีย์พร บัวอาจ, วิลาวัลย์ ใคร่ครวญ และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินและรากจากต้นที่เป็นโรคในแปลงพริกที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จากแหล่งปลูกพริกของประเทศไทยเก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคกลางได้ 7 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคเหนือได้ 11 ตัวอย่าง แยกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคในห้องปฏิบัติการจากตัวอย่างโรค เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 8 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจาก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ แยกเก็บเชื้อแบคทีเรียและเตรียมทดสอบคัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีการเก็บรักษาที่กลุ่มงานบักเตรีวิทยาเพื่อหาเชื้อที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อปฏิปักษ์ รวมแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกจากตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกที่เก็บได้จาก ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจาก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ได้เชื้อบริสุทธิ์สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก 17 ไอโซเลท แยกเก็บรักษาเชื้อระยะยาวเพื่อใช้ในการทดลองต่อไป จากการทดสอบคุณสมบัติของความเป็นเชื้อปฏิปักษ์กับเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพริก 17 ไอโซเลท และทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวพริกในเรือนปลูกพืชทดลองพบว่าเชื้อปฏิปักษ์ DOA-WB 1-5 ไม่สามารถควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกได้เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพริกเป็นเรส 3 ไบโอวา 2 ซึ่งต่างจากเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพืชอื่นๆ ซึ่งจะได้นำเชื้อปฏิปักษ์จากแหล่งอื่นๆ มาทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวของพริกต่อไป