การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี (/showthread.php?tid=1679) |
การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี - doa - 08-05-2016 การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี วงศ์ บุญสืบสกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, บูรณี พั่ววงค์แพทย์, สุรีย์พร บัวอาจ, วิลาวัลย์ ใคร่ครวญ และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินและรากจากต้นที่เป็นโรคในแปลงพริกที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จากแหล่งปลูกพริกของประเทศไทยเก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคกลางได้ 7 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคเหนือได้ 11 ตัวอย่าง แยกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคในห้องปฏิบัติการจากตัวอย่างโรค เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจากเขตพื้นที่ปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 8 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกจาก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ แยกเก็บเชื้อแบคทีเรียและเตรียมทดสอบคัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีการเก็บรักษาที่กลุ่มงานบักเตรีวิทยาเพื่อหาเชื้อที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อปฏิปักษ์ รวมแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกจากตัวอย่างโรคเหี่ยวพริกที่เก็บได้จาก ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจาก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ได้เชื้อบริสุทธิ์สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก 17 ไอโซเลท แยกเก็บรักษาเชื้อระยะยาวเพื่อใช้ในการทดลองต่อไป จากการทดสอบคุณสมบัติของความเป็นเชื้อปฏิปักษ์กับเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพริก 17 ไอโซเลท และทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวพริกในเรือนปลูกพืชทดลองพบว่าเชื้อปฏิปักษ์ DOA-WB 1-5 ไม่สามารถควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกได้เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพริกเป็นเรส 3 ไบโอวา 2 ซึ่งต่างจากเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวของพืชอื่นๆ ซึ่งจะได้นำเชื้อปฏิปักษ์จากแหล่งอื่นๆ มาทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวของพริกต่อไป
|