10-14-2015, 03:38 PM
การจัดการด้วงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อเพลี้ยแป้งในแปลงมะม่วงอินทรีย์
สราญจิต ไกรฤกษ์, ศรีจำนรรจ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง และเสาวนิตย์ โพธิ์พิ์พูนศักักดิ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สราญจิต ไกรฤกษ์, ศรีจำนรรจ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง และเสาวนิตย์ โพธิ์พิ์พูนศักักดิ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สำรวจด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ในปี พ.ศ. 2554 จากสวนมะม่วงอินทรีย์ใน จ.เชียงใหม่ และลำพูน รวม 8 สวน ผ่าเมล็ดมะม่วงแก้วและมะม่วงโชคอนันต์จำนวน 4,173 เมล็ด เพื่อตรวจนับปริมาณด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงพบ ด้วงตัวเต็มวัย 57 ตัว ดักแด้ 10 ตัว และหนอน 20 ตัว และจำแนกชนิดแล้ว คือ Sternochetus olivieri (Faust) Family Curculionidae ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเก็บผลมะม่วงพันธุ์งามเมืองยาที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา จำนวน 2 สวน ผ่าเมล็ดมะมวงจำนวน 1,902 เมล็ด พบด้วงตัวเต็มวัย 56 ตัว ดักแด้ 2 ตัว หนอน 12 ตัว รวมสำรวจพบ ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงในมะมวงอินทรีย์ การผ่าเมล็ดมะม่วงจำนวน 6,315 เมล็ด พบด้วงตัวเต็มวัย 123 ตัว ดักแด้ 12 ตัว และหนอน 42 ตัว ด้วงงวงที่จำแนกชนิดได้แล้วทั้งหมด คือ Sternochetus olivieri เช่นกัน และได้เตรียมสารสกัดจากพืช ได้แก่ บอระเพชร ขมิ้นชัน และดีปลี เพื่อทดสอบการจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและเพลี้ยแป้ง