คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจัดการด้วงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อเพลี้ยแป้ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การจัดการด้วงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อเพลี้ยแป้ง (/showthread.php?tid=141)



การจัดการด้วงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อเพลี้ยแป้ง - doa - 10-14-2015

การจัดการด้วงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อเพลี้ยแป้งในแปลงมะม่วงอินทรีย์
สราญจิต ไกรฤกษ์, ศรีจำนรรจ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง และเสาวนิตย์ โพธิ์พิ์พูนศักักดิ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ในปี พ.ศ. 2554 จากสวนมะม่วงอินทรีย์ใน จ.เชียงใหม่ และลำพูน รวม 8 สวน ผ่าเมล็ดมะม่วงแก้วและมะม่วงโชคอนันต์จำนวน 4,173 เมล็ด เพื่อตรวจนับปริมาณด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงพบ ด้วงตัวเต็มวัย 57 ตัว ดักแด้ 10 ตัว และหนอน 20 ตัว และจำแนกชนิดแล้ว คือ Sternochetus olivieri (Faust) Family Curculionidae ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเก็บผลมะม่วงพันธุ์งามเมืองยาที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา จำนวน 2 สวน ผ่าเมล็ดมะมวงจำนวน 1,902 เมล็ด พบด้วงตัวเต็มวัย 56 ตัว ดักแด้ 2 ตัว หนอน 12 ตัว รวมสำรวจพบ ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงในมะมวงอินทรีย์ การผ่าเมล็ดมะม่วงจำนวน 6,315 เมล็ด พบด้วงตัวเต็มวัย 123 ตัว ดักแด้ 12 ตัว และหนอน 42 ตัว ด้วงงวงที่จำแนกชนิดได้แล้วทั้งหมด คือ Sternochetus olivieri เช่นกัน และได้เตรียมสารสกัดจากพืช ได้แก่ บอระเพชร ขมิ้นชัน และดีปลี เพื่อทดสอบการจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงและเพลี้ยแป้ง