ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
#1
ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมด้วงเต่าตัวห้ำจากแปลงมันสำปะหลังที่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นหลักได้มากกว่า 12 ชนิด ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้วงเต่าลายหยัก Menochilus sexmaculatus (Fabricius) รองลงมาได้แก่ Micarpis discolor (Fabricius), Brumoides suturalis (Fabricius), Scymnus rectoides Sasaji, Nephus ryuguus (H.Kamiya) และ Cocciniella transversalis Fabricius เป็นต้น ชนิดที่เหลือพบได้บ้างเป็นบางแปลง ด้วงเต่า N. ryuguus, B. suturalis และ S. rectoides สามารถเลี้ยงจนครบวงจรชีวิตได้ด้วยเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเทา Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller บนผลฟักทอง แต่มีเฉพาะ N. ryuguus ชนิดเดียวที่สามารถขยายพันธุ์เลี้ยงต่อเนื่องกันได้ แต่สำหรับ B. suturalis เลี้ยงได้ 3 - 4 รุ่น และ S. rectoides ได้ 1 - 2 รุ่น และจากการทดลองเลี้ยงด้วงเต่าชนิดต่าง ๆ เพื่อหาชนิดที่เลี้ยงง่ายสะดวกและสามารถเลี้ยงต่อเนื่องได้เป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการนำด้วงเต่ามารวมกันนำไปใส่ฟักทองลูกต่อไป สามารถให้ผลผลิตตัวเต็มวัยด้วงเต่าได้จำนวน 101 - 769 ตัว เฉลี่ย 218.59 ตัวต่อผล ซึ่งถ้าหากเป็นผลที่มีเพลี้ยแป้งปริมาณมากพอสามารถให้ผลผลิตตัวเต็มวัยด้วงเต่าได้มากที่สุดถึง 769 ตัว ซึ่งจะสะดวกและได้ผลผลิตด้วงเต่าได้คุ้มทุนมากที่สุด สามารถจะนำไปพัฒนาหาวิธีการเพาะเลี้ยงอย่างเป็นระบบเพื่อผลิตขยายด้วงเต่าชนิดนี้


ไฟล์แนบ
.pdf   1618_2553.pdf (ขนาด: 291.03 KB / ดาวน์โหลด: 7,364)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม